Header

ขอมองตาหน่อยได้ไหม ! เป็นโรคอะไรรึเปล่า ? เพราะดวงตาสามารถบอกอาการของโรคได้

blank บทความโดย : คลินิกจักษุ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดวงตา เป็นอะไรที่มากกว่ามองแล้วรู้ใจ หมั่นเฝ้าสังเกตุ “ดวงตา” จะบ่งบอกได้ว่าคุณมีความเสี่ยงต่อโรคอะไรหรือเปล่า ดวงตานับเป็นอีกจุดหนึ่งที่มีความอ่อนไหวมาก เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นกับร่างกาย จึงสามารถแสดงอาการผิดปกติเหล่านั้นออกผ่านทางดวงตา เพียงแค่คุณต้องคอยสังเกตุ และไม่มองข้ามสิ่งผิดปกติเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้นวันนี้เราจะมาบอกวิธีสังเกตดวงตากันนะคะ

ดวงตามีสีดำคล้ำ เกิดจากภูมิแพ้ ไซนัสหรือโพรงจมูกอักเสบ

เมื่อเรามีอาการภูมิแพ้ มักจะทำให้เกิดความรู้สึกคันบริเวณรอบดวงตา และอาจมีการขยี้ ซึ่งจะทำให้เปลือกตาบริเวณรอบๆ เกิดการช้ำ และเห็นเป็นสีดำคล้ำได้

 

ตาขาวมีสีเหลือง เกิดจากตับทำงานผิดปกติ ตับอักเสบ ดีซ่าน

โรคความปกติทั้งหลายเกี่ยวกับตับและท่อน้ำดี มักจะแสดงอาการออกมาผ่านดวงตาในลักษณะของอาการตัวเหลือง ตาเหลือง หลักๆ แล้ว เกิดจากการที่ร่างกายมี “สารบิลิรูบิน (Bilirubin)” สะสมอยู่ในเลือดมากเกินไป ซึ่งโรคที่ส่งผลต่อระดับสารบิลิรูบิน ก็ได้แก่ ดีซ่าน ไวรัสตับอักเสบบี นิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งตับ มะเร็งเนื้อเยื่อบริเวณรูเปิดของท่อน้ำดี และมะเร็งลำไส้เล็กดูโอนัม (Duodenum) ส่วนที่สอง

 

ตาขาวมีสีแดง เกิดจากตาระคายเคือง ตาติดเชื้อหรืออักเสบ

โดยทั่วไปแล้วอาการตาแดงมักจะเกิดขึ้นเมื่อดวงตารู้สึกระคายเคือง หรือมีสิ่งผิดปกติ เช่น ฝุ่น ควัน เข้าใกล้หรือสัมผัสกับดวงตา รวมถึงอาการภูมิแพ้ และการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดก็ทำให้เกิดภาวะแดงได้ หากรู้สึกว่าระคายเคืองมาก หรือรบกวนการใช้ชีวิต ขอแนะนำให้รีบปรึกษาจักษุแพทย์

 

 

ตาขาวมีจุดเหลืองที่หัวตา เสี่ยงภาวะต้อลม

โรคต้อลม คือโรคที่เกิดจากภาวะที่เยื่อบุบริเวณตาขาว โดนลมหรือรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากแสงแดดมาเป็นเวลานานๆ จนทำให้เกิดการหนาตัวขึ้น ทำให้บริเวณที่เยื่อบุตาหนาขึ้นจะมีสีเข้มกว่าเยื่อบุตาบริเวณอื่นที่เป็นสีขาว

 

ตาดำมีสีขาวขุ่น เสี่ยงภาวะต้อกระจก

เมื่อเกิดภาวะต้อกระจก เลนส์ตาจะขุ่นทำให้แสงผ่านเลนส์ตาไปยังจอประสาทตาน้อยลง ทำให้การมองเห็นลดลงเกิดอาการตามัวขึ้น เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ หากเริ่มสังเกตเห็นว่าที่ตาดำของเรามีสีขาวหรือขุ่น ก็ควรรีบไปปรึกษาจักษุแพทย์

 

ตาดำมีสีเขียว บอกภาวะต้อหิน

โรคต้อหิน คือ ภาวะที่เกิดจากความดันภายในลูกตาสูงผิดปกติ หรือใยประสาทตา ขั้วประสาทตาถูกทำลาย ทำให้ลานสายตาแคบลงเรื่อย ๆ โดยการมองเห็นของผู้ป่วยจะไม่ได้พร่ามัวเหมือนต้อกระจก หลายครั้งจึงอาจไม่รู้สึกตัวว่ามีภาวะต้อหิน หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้ประสาทตาถูกทำลายไปเรื่อย ๆ ส่งผลให้ตาบอดในที่สุด  อาการที่ตาดำมีสีเขียวอาจเป็นลักษณะของคนที่มีภาวะต้อหินแต่กำเนิด

แต่อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงวิธีการสังเกตโดยเบื้องต้นเท่านั้น หากต้องการการวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำ เราขอแนะนำให้ทุกคนเข้ามาปรึกษากับจักษุแพทย์ หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงจะดีที่สุดนะคะ



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ออฟฟิศซินโดรม ศัตรูตัวร้ายขัดขวางความสุขในการทำงาน

ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) รวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น (Tendinitis) อาการปวด ชา จากปลายประสาทที่ถูกกดทับ ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบได้บ่อยในผู้ที่นั่งทำงานในออฟฟิศ

ออฟฟิศซินโดรม ศัตรูตัวร้ายขัดขวางความสุขในการทำงาน

ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) รวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น (Tendinitis) อาการปวด ชา จากปลายประสาทที่ถูกกดทับ ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบได้บ่อยในผู้ที่นั่งทำงานในออฟฟิศ

มะเร็งตับอ่อน

มะเร็งตับอ่อน พบได้ไม่บ่อยแต่มีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 8 ของโลก เนื่องจากผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการ ปวดท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือตัวเหลือง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งตับอ่อน

มะเร็งตับอ่อน พบได้ไม่บ่อยแต่มีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 8 ของโลก เนื่องจากผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการ ปวดท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือตัวเหลือง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
คลายนิ้วล็อค…ง่ายนิดเดียว

โรคใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยทั่วไปจะพบในผู้หญิงมากกว่าชาย กลุ่มโรคนิ้วล็อกในปัจจุบันพบได้มากขึ้น เนื่องจากใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
คลายนิ้วล็อค…ง่ายนิดเดียว

โรคใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยทั่วไปจะพบในผู้หญิงมากกว่าชาย กลุ่มโรคนิ้วล็อกในปัจจุบันพบได้มากขึ้น เนื่องจากใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม