Header

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและทุพพลภาพ จากสถิติในประเทศไทยในรายงานปี 2562 พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองกว่า 34,728 คน (อ้างอิง: กรมควบคุมโรค, 28 ตุลาคม 64)

โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร?

ภาวะสมองขาดเลือดอันเกิดจากการที่หลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย และเป็นเหตุให้การทำงานของสมองหยุดชะงัก โดยโรคหลอดเลือดสมองสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่:

  • หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic Stroke): ถือเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ (80%) ของการป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีผลให้ประสิทธิภาพการลำเลียงเลือดลดลง เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
    • ลิ่มเลือดจากบริเวณอื่นไหลมาอุดตันที่หลอดเลือดสมอง
    • ลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมองจนอุดตัน
    • หลอดเลือดตีบจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด
  • หลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke): ภาวะนี้อันตรายและส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
    • หลอดเลือดเปราะบางร่วมกับการมีภาวะความดันโลหิตสูง
    • หลอดเลือดสมองสูญเสียความยืดหยุ่นอันเนื่องจากการสะสมของไขมัน ทำให้หลอดเลือดแตกได้

สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองคืออะไร?

ปัจจัยของโรคหลอดเลือดสมองอาจแตกต่างกันไปตามรายบุคคล โดยอาจเกิดจาก

(1) ปัจจัยที่เลี่ยงไม่ได้ อย่างเช่น การเสื่อมของหลอดเลือดจากการมีอายุที่มากขึ้น การแข็งตัวของเลือดที่เร็วกว่าปกติ หรือแม้กระทั่งเพศทางชีวภาพ โดยพบว่า เพศชายมีความเสี่ยงต่อโรคมากกว่าเพศหญิง หรืออาจเกิดจาก

(2) ปัจจัยที่สามารถป้องกันได้ อย่างเช่น โรคและภาวะต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เช่น โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรือภาวะไขมันในเลือดสูง ตลอดจนวิถีการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล อย่างเช่น การสูบบุหรี่ หรือการขาดการออกกำลังกาย

สัญญาณเตือนของโรคเลือดสมองเป็นอย่างไร?

เมื่อสมองเกิดภาวะขาดเลือด จะส่งผลให้สมองไม่สามารถสั่งการได้ตามปกติ ซึ่งจะทำให้เราสามารถสังเกตอาการต่าง ๆ ได้ ไม่มากก็น้อย โดยจะขึ้นกับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของเนื้อสมองที่ถูกทำลาย โดยอาการเบื้องต้นที่เราสามารถสังเกตได้ ได้แก่ สูญเสียการทรงตัว มองเห็นภาพซ้อน ภาพเบลอ ใบหน้าอ่อนแรง มีอาการชา หรือปากเบี้ยว แขนขาอ่อนแรง หรือมีอาการชาครึ่งซีก พูดไม่ชัด พูดลำบาก เป็นต้น โดยอาการเตือนเหล่านี้อาจเกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเอง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที

สามารถรักษาและฟื้นฟูจากโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างไร?

วิธีการรักษาในคนไข้แต่ละรายอาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นกับสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองว่าเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบหรือหลอดเลือดสมองแตก โดยหากหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เป้าหมายของการรักษาคือทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างปกติ และหากหลอดเลือดสมองแตก เป้าหมายของการรักษาคือการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต หรืออาจพิจารณาทำการผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมองที่อาจเกิดขึ้นกรณีมีเลือดออกมาก

วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองทำได้อย่างไร?

สามารถทำได้โดยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้หลอดเลือดเกิดการตีบ อุดตัน หรือแตก เช่น:

  • ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อหาปัจจัยเสี่ยง และวางแผนดูแลสุขภาพแต่เนิ่น ๆ
  • ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม
  • ควบคุมการรับประทานอาหาร เลี่ยงอาหารเค็ม หวาน หรือมันจัด
  • งดหรือลดการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม

‍‍

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้

Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เข้าใจและรับมือกับ ‘โรคซึมเศร้า’

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่าโรคซึมเศร้าเป็นเพียงอาการ หรือสภาพจิตใจที่เปลี่ยนไปเพียงชั่วครู่ หลังจากเกิดความผิดหวัง หรือได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจ และสามารถรักษาได้ด้วยการให้กำลังใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคซึมเศร้ารุนแรงกว่านั้นมาก

blank บทความโดย : คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เข้าใจและรับมือกับ ‘โรคซึมเศร้า’

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่าโรคซึมเศร้าเป็นเพียงอาการ หรือสภาพจิตใจที่เปลี่ยนไปเพียงชั่วครู่ หลังจากเกิดความผิดหวัง หรือได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจ และสามารถรักษาได้ด้วยการให้กำลังใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคซึมเศร้ารุนแรงกว่านั้นมาก

blank บทความโดย : คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หลายคนอาจไม่คุ้นหูหรือไม่เคยได้ยิน ซึ่งโรคนี้มีความรุนแรง และการดำเนินของโรคที่รวดเร็ว อาจนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพและเสียชีวิตได้

นพ.วุทธิกรณ์ พันธุ์ประสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หลายคนอาจไม่คุ้นหูหรือไม่เคยได้ยิน ซึ่งโรคนี้มีความรุนแรง และการดำเนินของโรคที่รวดเร็ว อาจนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพและเสียชีวิตได้

นพ.วุทธิกรณ์ พันธุ์ประสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ และบางครั้งอาจรุนแรงถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้ หากต้องเผชิญสถานการณ์นั้นเพียงลำพัง หรือพบเจอผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ

นพ.สมประสงค์ เกียรติวัฒนชัย นพ.สมประสงค์ เกียรติวัฒนชัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ และบางครั้งอาจรุนแรงถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้ หากต้องเผชิญสถานการณ์นั้นเพียงลำพัง หรือพบเจอผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ

นพ.สมประสงค์ เกียรติวัฒนชัย นพ.สมประสงค์ เกียรติวัฒนชัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม