Header

หกล้มในผู้ใหญ่

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

หกล้มในผู้สูงวัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

     เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ ยิ่งเฉพาะในวัยผู้ใหญ่ หรือคนสูงวัย ยิ่งต้องควรระวัง รวมถึงครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิด ก็ต้องคอยดูแลบริเวณที่อยู่อาศัย และสุขอนามัยต่าง ๆ ให้มีความปลอดภัย เพื่อสุขภาพกายที่ดี และคุณภาพชีวิตที่ยืนยาว สำหรับอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่สามารถพบกับผู้สูงวัย ได้แก่ การลื่นหกล้ม ก้าวไม่ระวัง ตกบันได พื้นที่ต่างระดับ ฯลฯ
 

ระดับของอุบัติเหตุ ได้แก่ 

  • บาดเจ็บเล็กน้อย เช่น ฟกช้ำ ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ 
  • บาดเจ็บรุนแรง เช่น กระดูกส่วนต่าง ๆ หัก ซึ่งผู้ใกล้ชิด ควรรีบประเมินอาการและหากรุนแรงควรรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที 

การบาดเจ็บที่ส่งผลให้เป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น

  • กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด  ทำให้หลอดเลือดต่าง ๆ ในร่างกายเสื่อมโทรม เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุ มีโอกาสเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้
  • เส้นเลือดในสมองตีบ หรือแตกเฉียบพลัน  ภาวะที่มีการอุดกลั้นหรือการแตกของเส้นเลือดในสมอง ควรรีบติดต่อโรงพยาบาลใกล้บ้านที่สุด เพื่อส่งต่อทำการรักษาต่อไป 


ปัจจัยเสี่ยงการล้มในผู้สูงอายุ 

การหกล้มในผู้สูงวัย มีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ 2 ประการ คือ

  1. ด้านร่างกาย จากสภาพจากอายุที่เพิ่มขึ้น ความเสื่อมถอยของวัย และกล้ามเนื้อเสื่อมถอย ซึ่งทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย 
  2. ด้านสิ่งแวดล้อม จากการจัดบริเวณบ้าน และพื้นที่ใช้สอยที่ไม่เป็นระเบียบ เช่น การวางสิ่งของเกะกะ กีดขวางทางเดิน พื้นลื่น แสงสว่างไม่เพียงพอ

 

การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ 

การดูแลและใส่ใจรายละเอียด ในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้สามารถป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและการผลัดตก หกล้มได้ 

โดยการประเมินผู้สูงอายุ ทั้งทางด้านร่างกาย และ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือให้ท่านใช้ชีวิตได้สะดวก และป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น 

เริ่มแรก ผู้สูงอายุควรได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม และรู้สถานะ ความเสี่ยงสุขภาพของตนเอง โดยการตรวจคัดกรองตามแพทย์นัด หากมีโรคประจำตัว และตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาความเสื่อมถอยของระบบต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกายและเพื่อการดูแลตัวเองที่ถูกต้อง 

ปรึกษาแพทย์ เพื่อขอรับคำแนะนำเกี่ยวกับด้านต่าง ๆ เช่น 

  • ด้านสุขภาพ เช่น การฝึกเดิน นั่ง นอน เคลื่อนไหว ฝึกการทรงตัว ที่ถูกต้อง รวมถึงการเลือกและสวมรองเท้าที่เหมาะสม หากต้องมีการใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น โครงเหล็ก 4 ขา (Walker) ไม้เท้า หรือ นั่งวีลแชร์ จะได้ปรึกษากับเจ้าหน้าที่เฉพาะทางกายภาพ และได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง ฯลฯ
  • ด้านโภชนาการ เช่น การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หรือ เมื่อต้องใช้ยา หรือมีโรคประจำตัว ควรที่จะปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร และไปพบแพทย์ตามนัด เพื่อควบคุมอาการของโรคให้คงที่ และรับประทานยาอย่างต่อเนื่องเพื่อดูแลอาการ 
  • ด้านพฤติกรรม  เช่น การเปลี่ยนอิริยาบท ได้แก่ ค่อย ๆ ลุกยืนอย่างช้า ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ความดันโลหิตตก ในท่ายืนหรือหน้ามืด การหาราวสำหรับเกาะเดิน เพื่อป้องกันการเซหรือล้ม 
  • ด้านการใช้ยา เช่น ผู้สูงอายุควรประเมินการใช้ยา หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็นหรือมากเกินไป การได้รับยาหลายชนิดอาจส่งผลให้เกิดการมึน ซึม เสี่ยงต่อการผลัดตกหกล้มได้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อเปลี่ยนยาให้เหมาะสม 
  • ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การเข้าห้องน้ำ หรือการปรับภูมิทัศน์ภายในบ้าน ควรมีวัสดุกันลื่นในห้องน้ำ เก็บของให้เป็นระเบียบ ไม่วางของระเกะระกะ เพิ่มแสงสว่างเพียงพอ โดยเฉพาะตรงราวบันได หรือไฟทางเดินต่าง ๆ 
    • ห้องนอน ควรใช้เตียง ที่มีความสูงระดับข้อพับเข่า เพื่อให้การลุก นั่ง นอนสะดวก ไม่ล้มเซง่าย และป้องกันผลัด ตกเตียง 
    • ห้องน้ำควรกันแยกพื้นที่ ระหว่างพื้นที่เปียกและแห้ง เพื่อป้องกันการลื่นล้ม และมีอุปกรณ์กันลื่นหรือมือจับ หรือ เก้าอี้นั่งอาบน้ำ เพื่อความปลอดภัย จุดเชื่อมต่อระหว่างห้องควรอยู่ในระดับเดียวกัน เลี่ยงธรณีประตู การก้าวขึ้นลง  
    • ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยง การขึ้นบันได ควรจัดพื้นที่ชั้นล่างสำหรับอยู่อาศัย เพื่อหลีกเลี่ยงบันได และการเดินขึ้นลงที่ง่าย 
    • อุปกรณ์ เครื่องเรือน เครื่องใช้ต่าง ๆ ต้องแข็งแรงมั่นคง เลี่ยงชนิดเก้าอี้ล้อหมุนหรือเลื่อนได้ ต้องจัดทิศทางและตั้งวางให้เหมาะมองเห็นง่าย และไม่ย้ายที่บ่อย ๆ เพื่อป้องกันการหลงลืม ลุกนั่งโดยไม่ระวัง  
  • ด้านการเดินและออกกำลังกาย เพิ่มความแข็งแรงและยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เช่น ท่ายืนเขย่งปลายเท้า สลับยืนบนส้นเท้า การลุกนั่ง แกว่งแขนแบบง่าย ๆ การฝึกหายใจเพื่อบริหารปอด และเน้นฝึกการทรงตัว และการเคลื่อนไหว 
    • การออกกำลังกาย ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อความเหมาะสมในระหว่างการออกกำลังกาย และเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับร่างกายของผู้สูงวัยแต่ละบุคคล รวมถึงโรคประจำตัว 

การหกล้มในผู้ใหญ่ เป็นปัญหาสำคัญในผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ที่ดูแลใกล้ชิด ควรตระหนักถึงอันตราย และให้การป้องกันก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุ เพราะหากเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต และคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาวได้ 
 

บทความโดย :  โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้

Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

 

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์กระดูกและข้อ

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4110

ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน

สถานที่

อาคาร B ชั้น G

เวลาทำการ

24 ชม.

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4003

แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกอายุรกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ทำไมต้องฉีดให้ผู้สูงอายุ

การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกาย นอกเหนือจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ เช่น เสี่ยงเส้นเลือดสมองตีบ เส้นเลือดหัวใจตีบ ระดับน้ำตาลผิดปกติ สูญเสียความสามารถในการดูแลตัวเอง

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ทำไมต้องฉีดให้ผู้สูงอายุ

การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกาย นอกเหนือจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ เช่น เสี่ยงเส้นเลือดสมองตีบ เส้นเลือดหัวใจตีบ ระดับน้ำตาลผิดปกติ สูญเสียความสามารถในการดูแลตัวเอง

ปัญหาสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ อายุมากขึ้นต้องระวังให้มากขึ้น

ผู้สูงวัยจะมีปัญหาทางด้านสุขภาพติดตัวกันแทบทุกคน เนื่องจากเป็นวัยที่สุขภาพถดถอย ซึ่งก็รวมไปถึงปัญหาสุขภาพในช่องปากในผู้สูงอายุ และฟันที่จะมีปัญหาเกิดขึ้นมาอย่างชัดเจน อายุมากขึ้นต้องระวังให้มากขึ้น

ปัญหาสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ อายุมากขึ้นต้องระวังให้มากขึ้น

ผู้สูงวัยจะมีปัญหาทางด้านสุขภาพติดตัวกันแทบทุกคน เนื่องจากเป็นวัยที่สุขภาพถดถอย ซึ่งก็รวมไปถึงปัญหาสุขภาพในช่องปากในผู้สูงอายุ และฟันที่จะมีปัญหาเกิดขึ้นมาอย่างชัดเจน อายุมากขึ้นต้องระวังให้มากขึ้น

ทานอย่างไร ให้สุขภาพดีเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ

เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุควรรับประทานอาหารให้เป็นสัดส่วน เริ่มดูแลตัวเอง ตั้งแต่วินาทีนี้ ร่างกายของเราจะฟิตแอนด์เฟิร์มอย่างแน่นอน

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ทานอย่างไร ให้สุขภาพดีเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ

เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุควรรับประทานอาหารให้เป็นสัดส่วน เริ่มดูแลตัวเอง ตั้งแต่วินาทีนี้ ร่างกายของเราจะฟิตแอนด์เฟิร์มอย่างแน่นอน

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม