Header

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ทำไมต้องฉีดให้ผู้สูงอายุ

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ทำไมต้องฉีดให้ผู้สูงอายุ
 


มอบการป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้ผู้สูงอายุได้แล้ววันนี้ รีบพาผู้สูงอายุไปรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ เพื่อลดอัตราป่วยรุนแรงและเสียชีวิต

 

ไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ ต่างจากไข้หวัดในคนทั่วไปอย่างไร ?

โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจที่พบบ่อย และมักจะมีการระบาดช่วงฤดูฝน อาการโดยทั่วไป อาจจะทำให้เป็นไข้ ไอ หรือปวดเมื่อตามตัว ในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงจะสามารถหายเองได้ในเวลา 3-5 วัน

แต่ในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน มักมีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงถึงขั้นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล

และจากข้อมูลในประเทศไทยพบว่า กลุ่มที่มีอัตราการต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลสูงที่สุดจากโรคไข้หวัดใหญ่คือเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ

 

สาเหตุหลัก ที่ทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น

  • ภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย (Immunosenescence) ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไปอยู่แล้ว ไม่จะเป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรีย เชื้อรา หรือไวรัสก็ตาม เพราะผู้สูงอายุนั้นจะมีโอกาสสูงที่เกิดภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย ในภาวะที่ร่างกายเสื่อมถอยและสูญเสียความสมดุล ก็จะเกิด “การอักเสบรุนแรง” (ซึ่งเป็นกระบวนการของระบบภูมิคุ้มกัน) ที่เกิดขึ้นจนไม่สามารถจะยับยั้งได้ และทำให้เสียชีวิตได้

  • โรคประจำตัว รักษาไม่หายขาด (Underlying disease) ผู้สูงอายุและผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง หากพบการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ก็จะมีความเสี่ยงสูงที่จะพบอาการแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อปอดอักเสบ โรคหัวใจ เส้นเลือดสมอง บางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

  • ภาวะเปราะบางและความอ่อนแอในผู้สูงอายุ (Frailty) ภาวะเปราะบางไม่ใช่โรคเมื่อผู้สูงอายุติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จะพบว่า 23% ของผู้สูงอายุจะสูญเสียความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองด้านกิจวัตรประจำวัน และจำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่น รวมทั้ง 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุที่นอนโรงพยาบาลยังไม่สามารถกลับมาทำกิจกรรมได้ตามปกติภายใน 1 ปี

 

ไข้หวัดใหญ่ ป้องกันได้หรือไม่ ?

โรคไข้หวัดใหญ่ สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี เพราะในแต่ละปี เชื้อโรคมีการเปลี่ยนแปลง และกลายพันธุ์ ทำให้เกิดเชื้อตัวใหม่ที่มีความรุนแรงยิ่งขึ้นซึ่งในแต่ละปี วัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับเชื้อที่ระบาดในช่วงเวลานั้น โดยวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะสามารถฉีดได้ตลอดปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือ ก่อนฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) และก่อนฤดูหนาว (เดือนตุลาคม) เนื่องจากเป็นช่วงที่เริ่มมีการระบาด

ในปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ดีขึ้น และยังสามารถลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ลดการนอนโรงพยาบาลจากอาการปอดอักเสบและจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดขึ้นจากไข้หวัดใหญ่ได้อีกด้วย

[มามอบการป้องกันไข้หวัดใหญ่ผู้สูงอายุได้แล้ววันนี้]

 

“ไข้หวัดใหญ่” ร้ายกว่าที่คิดในผู้สูงอายุอย่างไร

การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกาย นอกเหนือจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ ดังต่อไปนี้

  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดสมองตีบมากกว่าคนทั่วไป 8 เท่า2

  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดตีบที่หัวใจมากกว่าคนทั่วไป 10 เท่า2

  • 75% ของคนไข้เบาหวาน จะมีปัญหาต่อระดับน้ำตาลที่ผิดปกติ4

  • 23% จะสูญเสียความสามารถในการดูแลตัวเองหลังจากเจ็บป่วยเพราะไข้หวัดใหญ่3

โปรดปรึกษาแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านท่านก่อนรับการฉีดวัคซีน

 

เอกสารอ้างอิง
1.Baggett HC. et al. PLoS One. 2012;7(11):e48609

2. Warren-Gash C, et al. Eur respir J. 2018

3. Andrew MK, et al. J Am Geriatr Soc. 2021.

4. Samson Sl, et al. J Diabetes Sci Technol. 2019

5. https://www.ecdc.europa.eu/en/seasonal-influenza/facts/factsheet

6. CDC. https://www.cdc.gov/flu/about/disease/65over.htm Accessed

May 31,2018

7. https://www.nfid.org/wp-content/uploads/2019/08/65-flu-fact-sheet.pdf

8.Gavazzi G. et al. The Lancet Infectious Diseases; 2002: 2(11), 659-666

9. Quadrivalent Influenza Vaccine (Split Virion, Inactivated), 60 mcg

HA/strain SMPC. 2. Diaz Granados CA, et al. N Engl J Med. 2014;371:635-645.

10. Lee J, et al. Vaccine. 2021

11. Oh SJ, Lee JK, Shin OS. Aging and the Immune System: the Impact of

Immunosenescence on Viral Infection, Immunity and Vaccine Immunogenicity. Immune

Netw. 2019 Nov 14;19(6):e37. doi: 10.4110/in.2019.19.e37. PMID: 31921467; PMCID: PMC694317

12.อมรรัตน์ จำเนียรทรง, ประเสริฐ สายเชื้อ, การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันในผู้สูงอายุ,

Thammasat Medical Journal, Vol, 16 No. 2, April - June 2016 หน้n 285-296

 

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคร้ายที่พบในผู้สูงอายุ

เรียนรู้เกี่ยวกับ 7 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ การสังเกตอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ คือสิ่งสำคัญเพื่อนำไปสู่การดูแลรักษาที่ทันท่วงที และสามารถลดความรุนแรงของโรคได้

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคร้ายที่พบในผู้สูงอายุ

เรียนรู้เกี่ยวกับ 7 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ การสังเกตอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ คือสิ่งสำคัญเพื่อนำไปสู่การดูแลรักษาที่ทันท่วงที และสามารถลดความรุนแรงของโรคได้

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เลือกฟันปลอมแบบไหน ให้เหมาะกับ ผู้สูงวัยที่สุด ?

เป็นธรรมชาติของผู้สูงวัยที่เมื่ออายุมากขึ้น สุขภาพช่องปากก็เริ่มอ่อนแอลง การสูญเสียฟันแท้ไปเพราะอายุที่มากขึ้น

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เลือกฟันปลอมแบบไหน ให้เหมาะกับ ผู้สูงวัยที่สุด ?

เป็นธรรมชาติของผู้สูงวัยที่เมื่ออายุมากขึ้น สุขภาพช่องปากก็เริ่มอ่อนแอลง การสูญเสียฟันแท้ไปเพราะอายุที่มากขึ้น

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
“โรคพิษสุนัขบ้า” พาหะของโรคมากมาย

“โรคพิษสุนัขบ้า” ยังคงเป็นโรคที่เราต้องให้ความสำคัญ และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เรายังคงพบว่า มีผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ตลอด อีกทั้งบ้านเราเป็นเมืองร้อน มีทั้งสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคมากมาย

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
“โรคพิษสุนัขบ้า” พาหะของโรคมากมาย

“โรคพิษสุนัขบ้า” ยังคงเป็นโรคที่เราต้องให้ความสำคัญ และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เรายังคงพบว่า มีผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ตลอด อีกทั้งบ้านเราเป็นเมืองร้อน มีทั้งสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคมากมาย

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม