Header

การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย Exercise Stress Test

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

การตรวจสมรรถภาพหัวใจ | ขณะออกกำลังกาย (EST) | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

การตรวจสมรรถภาพหัวใจ โดยการเดิน การวิ่งบนสายพาน เพื่อทดสอบว่าเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดหรือไม่ การตรวจวิธีนี้มีความแม่นยำสูงกว่าการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบปกติ เป็นการตรวจที่มีประโยชน์มาก
 

 

การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย Exercise Stress Test

     เป็นการตรวจสมรรถภาพหัวใจ โดยให้ผู้ป่วยออกกำลังกายด้วย การเดิน / การวิ่งบนสายพาน เพื่อทดสอบว่าเมื่อหัวใจต้องการออกซิเจนเพิ่มมากขึ้นขณะออกกำลังจนถึงเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว จะเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด หรือไม่ ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจแสดงอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยมากหน้ามืด และมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย

     การตรวจวิธีนี้มีความแม่นยำสูงกว่าการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบปกติ เป็นการตรวจที่มีประโยชน์มากในการวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือด หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด

 

 

 

ผู้ที่ควรตรวจ EST

1. ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด แต่ยังไม่แสดงอาการผิดปกติ

2. ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอก เหนื่อยง่ายสงสัยโรคหัวใจขาดเลือด

3. ตรวจเพื่อติดตามผลการรักษาในผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

4. ตรวจเพื่อติดตามผลการรักษาอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบพิเศษ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดปกติที่อาจเกิดขณะออกกำลังกาย

5. ผู้ที่แพทย์แนะนำให้ตรวจวิธีนี้ เพื่อการวินิจฉัย หรือเพื่อติดตามการรักษา


 

ประโยชน์ของการทำ EST

1. เพื่อทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย

2. เพื่อวินิจฉัยแยกโรคว่าอาการเจ็บแน่นหน้าอกที่เกิดจากโรคหัวใจ หรือสาเหตุอื่น

3. เพื่อวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงแต่ไม่มีอาการ

4. เพื่อบอกความรุนแรงของโรคหลอดเลือดหัวใจ

5. เพื่อติดตามผลการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

6. ช่วยประเมินภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่อาจเกิดขณะออกกำลังกาย

 

 

 

การเตรียมตัวก่อนมารับการตรวจ

1. งดน้ำ และอาหาร งดชา งดกาแฟ งดบุหรี่ 2 ชั่วโมงก่อนการทดสอบไม่ควรรับประทานอาหารมื้อใหญ่ หรือปริมาณมากก่อนมาทดสอบ

2. ก่อนการทดสอบ แพทย์อาจให้ผู้ป่วยงดยาบางชนิด เช่นยากลุ่ม Beta-blocker เป็นต้น 

3. สวมใส่ชุดที่รู้สึกสบาย และสวมรองเท้าสำหรับวิ่ง

 

ขั้นตอนการตรวจ

1. แพทย์จะทำการตรวจประเมิน และแนะนำเบื้องต้นก่อนการทดสอบ

2. เจ้าหน้าที่จะติดเครื่องวัดความดันโลหิต และชีพจรแบบ อัตโนมัติติดสายตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจบริเวณหน้าอกให้ผู้ป่วย

3. บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อนการทดสอบทั้งท่านอน ท่านั่ง ท่ายืน และบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกายจนเสร็จสิ้นการทดสอบตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ โดยแบ่งเป็น ช่วงออกกำลังกายประมาณ 6 - 12 นาที แล้วแต่สมรรถภาพของผู้ป่วย และช่วงเวลาพักประมาณ 3 - 10 นาที

4. ในขณะทำการทดสอบจะตรวจวัดความดันโลหิต และชีพจร แบบอัตโนมัติ แพทย์จะติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจจากหน้าจอเครื่องทดสอบ และจะสอบถามอาการผู้ป่วยเป็นระยะ ๆ 

5. ถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ รู้สึกอึดอัด เจ็บแน่นหน้าอก หรือขากรรไกร ปวดขาเดินต่อไปไม่ไหว ให้รีบแจ้งแพทย์ทันที แพทย์จะปรับเครื่องให้ช้าลงเพื่อเตรียมหยุดเครื่อง หรือทำการหยุดเครื่องฉุกเฉินเพื่อรักษาตามความเหมาะสม

6. หลังจากเสร็จสิ้นการทดสอบ แพทย์จะแปลผล และแจ้งผลการทดสอบให้ผู้ป่วย และญาติทราบ

7. ทางโรงพยาบาลจะให้ผลการทดสอบกับผู้ป่วยหลังเสร็จสิ้นการทดสอบ  


บทความโดย :  โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ (บางนา กม 6.5)

#หัวใจคุณให้พริ้นซ์ช่วยดูเเล



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -15.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4601 หรือ 092 131 6465

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

สุขภาพช่องปากกับผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรดูแลตัวเองอย่างไร ?

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญที่สำคัญในการรักษาสุขภาพหัวใจอย่างเหมาะสม การดูแลอย่างถูกต้องของช่องปาก สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
สุขภาพช่องปากกับผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรดูแลตัวเองอย่างไร ?

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญที่สำคัญในการรักษาสุขภาพหัวใจอย่างเหมาะสม การดูแลอย่างถูกต้องของช่องปาก สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่ดีๆ ก็ใจสั่น อาการเสี่ยงของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

คือความรู้สึกเหมือนหัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นช้าหรือเร็วเกินไป เมื่อมีอาการจะเกิดขึ้นไม่นานหัวใจก็จะกลับมาเต้นเป็นปกติเหมือนเดิม และไม่อันตราย แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของบางโรคได้ โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนของอาการใจสั่น ที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ

นพ. ชูศักดิ์ หล่อจิตต์เสียง | ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด นพ. ชูศักดิ์ หล่อจิตต์เสียง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่ดีๆ ก็ใจสั่น อาการเสี่ยงของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

คือความรู้สึกเหมือนหัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นช้าหรือเร็วเกินไป เมื่อมีอาการจะเกิดขึ้นไม่นานหัวใจก็จะกลับมาเต้นเป็นปกติเหมือนเดิม และไม่อันตราย แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของบางโรคได้ โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนของอาการใจสั่น ที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ

นพ. ชูศักดิ์ หล่อจิตต์เสียง | ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด นพ. ชูศักดิ์ หล่อจิตต์เสียง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เบาหวานน่ากลัวอย่างไร

โดยปกติแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดของคนเราจะถูกควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วยฮอร์โมนอินซูลินที่ตับอ่อนสร้างขึ้นมา โดยฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อใช้เป็นพลังงาน หากขาดฮอร์โมนอินซูลินไปหรืออินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ตามปกติ เซลล์ในร่างกายก็จะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเกิดเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เบาหวานน่ากลัวอย่างไร

โดยปกติแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดของคนเราจะถูกควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วยฮอร์โมนอินซูลินที่ตับอ่อนสร้างขึ้นมา โดยฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อใช้เป็นพลังงาน หากขาดฮอร์โมนอินซูลินไปหรืออินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ตามปกติ เซลล์ในร่างกายก็จะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเกิดเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม