Header

สธ. กำหนด “โรคฝีดาษวานร” เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังในประเทศไทย

15 พฤศจิกายน 2565

คณะกรรมการวิชาการ ภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบให้ “ฝีดาษวานร” หรือฝีดาษลิง เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากยังไม่แพร่เป็นวงกว้าง และยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อในประเทศไทย หรือผู้ป่วยสงสัยเข้าประเทศ ทั้งนี้ จากรายงานผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในยุโรป พบเป็นสายพันธุ์ West African ซึ่งมีความรุนแรงน้อย อัตราเสียชีวิต 1% 

โรคฝีดาษลิง เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังในไทย 

เมื่อวานนี้ (25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565) นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์โรคผีดาษวานร (Monkeypox) ว่า เป็นโรคที่แพร่ระบาดในประเทศแถบแอฟริกามาหลายปี ทว่า ในช่วง 2 – 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา เริ่มพบผู้ป่วยในประเทศแถบยุโรป มีความเชื่อมโยงกับการเดินทางไปแอฟริกา และมีการแพร่ระบาดภายในบางประเทศ ขณะนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อ 257 ราย ใน 18 ประเทศแถบยุโรป 

ประเทศที่มีรายงานผู้ติดเชื้อใหม่ ได้แก่ เดนมาร์ก โมรอกโก และอาร์เจนตินา โดยข้อมูลทางระบาดวิทยาเท่าที่มีรายงาน พบว่า จากรายงานอาการของผู้ป่วย 57 ราย พบเป็นผื่น/ตุ่มนูน 98% ไข้ 39% ต่อมน้ำเหลืองโต 26% และไอ 2% 

โดยลักษณะของผื่นเป็นตุ่มแผลก้นลึก 75% ตุ่มน้ำใส 9% ผื่นนูน/ตุ่มหนอง 2% บริเวณที่พบส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่ออ่อน เช่น อวัยวะเพศ 39% ปาก 30% และรอบทวารหนัก 2% ตรวจพบสายพันธุ์ West African 9 ราย 

ทั้งนี้ โรคฝีดาษวานรมี 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ West African Clade ซึ่งอัตราเสียชีวิตอยู่ที่ 1% ต่ำกว่าสายพันธุ์ Central African Clade ซึ่งมีอัตราเสียชีวิต 10% มีสัตว์ที่เป็นรังโรค คือ สัตว์ฟันแทะและลิง 

สาเหตุของการติดเชื้อฝีดาษลิง 

สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่: 

  • ติดต่อจากสัตว์สู่คน ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่ง หรือแผลของสัตว์ที่ป่วย 

  • ติดต่อจากคนสู่คน ผ่านการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยมาก ๆ สัมผัสกับแผลหรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยโดยตรง หรือเสื้อผ้าของใช้ผู้ป่วยที่มีสารคัดหลั่ง 

ระยะฟักตัวของเชื้อและอาการ 

สำหรับระยะฟักตัวอยู่ที่ 5 – 21 วัน อาการส่วนใหญ่ไม่ค่อยรุนแรงในช่วง 5 วันแรก จะมีอาการเริ่มต้นจาก การมีไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ และหมดแรง ซึ่งระยะที่มีอาการเหล่านี้ จะเป็นระยะที่เริ่มสามารถแพร่เชื้อได้บ้างแล้ว และช่วงออกผื่น 2 – 3 วันหลังมีไข้ จะมีผื่นขึ้นเริ่มจากใบหน้า ลำตัว แขนขา รวมถึงบริเวณที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อน เช่น ช่องปาก และอวัยวะเพศ เริ่มจากตุ่มนูนแดงเล็ก ๆ เป็นตุ่มใส ตุ่มหนอง เมื่อแตกจะมีแผลเป็นหลุม 

โดยมากสามารถหายเองได้ บางรายอาจมีเป็นแผลเป็น และบางรายอาจมีอาการรุนแรง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่มีปัญหาสุขภาพเดิม อาจมีอาการแทรกซ้อน ได้แก่ ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด ติดเชื้อที่กระจกตาทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ 

ประเทศไทยมีการเตรียมความพร้อมเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิง 

นพ.จักรรัฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยมีการเตรียมความพร้อมเฝ้าระวัง โดยศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข กรณีโรคฝีดาษวานร กรมควบคุมโรค ซึ่งคณะกรรมการวิชาการ ภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติเห็นชอบให้จัดโรคฝีดาษวานรเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากยังไม่มีผู้ป่วยในประเทศ 

การแพร่กระจายของโรคเป็นลักษณะของการใกล้ชิดกันมาก ๆ เฉพาะกลุ่ม และยังไม่มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างไปหลายทวีป อัตราป่วยตายยังเป็นสายพันธุ์ที่ป่วยรุนแรงน้อย โดยจะเฝ้าระวังผู้เดินทางเข้าประเทศที่มีอาการดังต่อไปนี้: 

  • ไข้เกิน 38 องศาเซลเซียส ร่วมกับอาการป่วยอย่างน้อยหนึ่งอย่าง คือ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หรือมีผื่นตุ่มนูน 

  • มีประวัติเดินทาง หรืออาศัยในประเทศที่มีรายงานการระบาด มีประวัติร่วมกิจกรรมที่มีรายงานพบผู้ป่วยเข้าข่ายหรือยืนยัน ภายใน 21 วัน 

  • มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดสัตว์ป่าประเภทสัตว์ฟันแทะ ลิง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนำเข้าจากแอฟริกา  

อ้างอิง: กระทรวงสาธารณสุข (ข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565) 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

27 กรกฎาคม 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและบริษัท เมตตา เมดเทค จำกัด ได้จัดงานอบรมเชิงปฏิบัติการ การฟื้นฟูสมรรถภาพการเดินในผู้ป่วยที่มีความบกพร่องด้านการเดิน

วันที่ 25 กรกฏาคม 2567 แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและบริษัท เมตตา เมดเทค จำกัด ได้จัดงานอบรมเชิงปฏิบัติการ การฟื้นฟูสมรรถภาพการเดินในผู้ป่วยที่มีความบกพร่องด้านการเดิน

27 กรกฎาคม 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและบริษัท เมตตา เมดเทค จำกัด ได้จัดงานอบรมเชิงปฏิบัติการ การฟื้นฟูสมรรถภาพการเดินในผู้ป่วยที่มีความบกพร่องด้านการเดิน

วันที่ 25 กรกฏาคม 2567 แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและบริษัท เมตตา เมดเทค จำกัด ได้จัดงานอบรมเชิงปฏิบัติการ การฟื้นฟูสมรรถภาพการเดินในผู้ป่วยที่มีความบกพร่องด้านการเดิน

21 กรกฎาคม 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้ออกบูธเพื่อให้ความรู้ เกี่ยวกับโรค NCDs แก่พนักงานบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

วันที่ 18 กรกฎาคม 2567 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้ออกบูธเพื่อให้ความรู้ เกี่ยวกับโรค NCDs แก่พนักงานบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด สาขาสำโรง

21 กรกฎาคม 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้ออกบูธเพื่อให้ความรู้ เกี่ยวกับโรค NCDs แก่พนักงานบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

วันที่ 18 กรกฎาคม 2567 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้ออกบูธเพื่อให้ความรู้ เกี่ยวกับโรค NCDs แก่พนักงานบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด สาขาสำโรง

21 กรกฎาคม 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้เข้าร่วมประชาสัมพันธ์โรงพยาบาล ในงานประชุมตัวแทนบริษัท เอไอเอ จำกัด

วันที่ 18 กรกฎาคม 2567 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้เข้าร่วมประชาสัมพันธ์โรงพยาบาล รวมถึงสิทธิพิเศษสำหรับตัวแทนและลูกค้าประกันชีวิต ในงานประชุมตัวแทนบริษัท เอไอเอ จำกัด

21 กรกฎาคม 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้เข้าร่วมประชาสัมพันธ์โรงพยาบาล ในงานประชุมตัวแทนบริษัท เอไอเอ จำกัด

วันที่ 18 กรกฎาคม 2567 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้เข้าร่วมประชาสัมพันธ์โรงพยาบาล รวมถึงสิทธิพิเศษสำหรับตัวแทนและลูกค้าประกันชีวิต ในงานประชุมตัวแทนบริษัท เอไอเอ จำกัด

19 กรกฎาคม 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้ออกบูธเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรค NCDs แก่พนักงานบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (โรงงานเกตเวย์)

วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้ออกบูธเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรค NCDs โรคที่เกิดจากพฤติกรรม แก่พนักงานบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (โรงงานเกตเวย์)

19 กรกฎาคม 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้ออกบูธเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรค NCDs แก่พนักงานบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (โรงงานเกตเวย์)

วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้ออกบูธเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรค NCDs โรคที่เกิดจากพฤติกรรม แก่พนักงานบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (โรงงานเกตเวย์)