Header

อาการปวดส้นเท้า อาจจะเป็นสัญญาณของโรครองช้ำ

นพ.กุลพัชร จุลสำลี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.กุลพัชร จุลสำลี

อาการปวดสันเท้า อาจไม่ใช่เรื่องปกติ แต่เป็นสัญญาณของ"โรครองช้ำ"

 

อาการปวดสันเท้ามีความหลากหลายซ่อนอยู่ บางอาการอาจเป็นเพียงปวดเมื่อยธรรมดา หรือเป็นอาการบาดเจ็บชั่วคราวของกล้ามเนื้อ แต่บางอาการก็อาจเป็นสัญญาณของโรคที่ต้องได้รับการรักษา ขณะที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน และละเลยอาการป่วยนั้นไปทำให้ส่งผลเสียตามมา วันนี้เราจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดสันเท้าที่เป็นสัญญาณของโรครองช้ำ เพื่อให้หลายคนได้สังเกตอาการเบื้องต้นกัน และเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

 

ลักษณะอาการที่บ่งชี้ว่าเป็นโรครองช้ำนี้คือ อาการปวดบริเวณส้นเท้าค่อนมาด้านใน อาการปวดจะเป็นเฉพาะเวลาเดินลงน้ำหนักในช่วงแรกหลังจากตื่นนอน หรือหลังจากนั่งพักนาน ๆ ระหว่างวัน เมื่อเดินต่อไปสักพักอาการปวดจะทุเลาลง โรคนี้เป็นโรคที่คนส่วนใหญ่เป็นแต่ไม่รู้ว่าตัว พบมากในคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

 

สาเหตุของโรคนั้นโดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการยืนเป็นเวลานาน ๆ, การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม, น้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น และลักษณะการทำกิจกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม อาทิเช่น เพิ่มระยะทางการวิ่งออกกำลังกายการเดิน หรือวิ่งบนพื้นผิวที่ต่างไปจากเดิม นอกจากนี้สาเหตุอื่นที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรครองช้ำ ได้แก่ ผู้ที่มีลักษณะของเท้าแบน, เท่าโก่ง และเส้นเอ็นร้อยหวายตึง ทำให้การเคลื่อนไหวรับน้ำหนักของเท้าผิดปกติไป

 

การรักษาแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่ การรักษาโดยการไม่ผ่าตัด และการรักษาโดยการผ่าตัด

โดยส่วนใหญ่กว่า 90% ของคนไข้นั้น สามารถรักษาได้ไดยการไม่ผ่าตัด อันได้แก่

 

  • การทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเอง เช่น การนวดฝาเท้า, การแช่น้ำอุ่น

และการยืดเส้นเอ็นร้อยหวาย

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ปรับรองเท้า, ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และการลดน้ำหนักตัว
  • การรับประทานยาบรรเทาอาการปวด แนะนำให้ทานยาแก้ปวดเท่าทีจำเป็น หรือตามคำแนะนำของแพทย์
  • การรักษาโดยการฉีดยา เช่น การฉีด steroid หรือการฉีดเกร็ดเลือด (PRP; platelet-rich-plasma)
  • การรักษาโดยการใช้คลื่นกระแทก (shock wave therapy)

 

เนื่องจากโรครองช้ำนั้นเป็นอักเสบเรื้อรัง ดังนั้นระยะเวลาที่ใช้รักษาจึงจำเป็นต้องใช้เวลานาน ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาแต่ละคนไม่เท่ากันบางรายอาจใช้เวลา 6-12 เดือน

 ส่วนการผ่าตัดนั้นจะทำเฉพาะในกรณีที่ได้รับการรักษาแบบไม่ผ่าตัดมีอย่างครบถ้วน แต่อาการยังไม่ทุเลาลง โดยการผ่าตัดนั้นทำโดยตัดเอาเส้นเอ็นส่วนที่มีการอักเสบออก จะทำให้อาการปวดทุเลาลงได้

 

แม้โรครองช้ำจะไม่ใชโรคที่อันตราย หรือร้ายแรง แต่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นหากมีอาการปวดส้นเท้าผิดปกติควรรีบพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที

 

 

 

บทความโดย : นพ.กุลพัชร จุลสำลี แผนกกระดูกและข้อ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้

Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์กระดูกและข้อ

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4110

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์กระดูกและข้อ

ผศ.นพ.สรวุฒิ ธรรมยงศ์กิจ

ศัลยแพทย์กระดูก

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.สุพจน์ กังวาฬ

ออร์โธปิดิกส์

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.ธวัช ประสาทฤทธา

ศัลยแพทย์กระดูก

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์