Header

ทำความเข้าใจ ‘โรคพาร์กินสัน’ แนวทางการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ทำความเข้าใจ โรคพาร์กินสัน โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เดินช้า หยิบของช้า ไม่แสดงหน้า อาการสั่น มีปัญหาการเดิน หลาย ๆ คน อาจคิดว่าพฤติกรรมเหล่านี้เป็นการตั้งใจทำ แต่จริง ๆ แล้ว อาการเหล่านี้อาจเป็น อาการของผู้ป่วยพาร์กินสันต่างหาก วันนี้เราจะมาแนะนำให้รู้จักกับโรค พาร์กินสัน เพื่อทำความเข้าใจผู้ป่วยพาร์กินสันและรู้จักวิธีการดูแลผู้ป่วยพาร์กินสันให้มากขึ้นกัน

โรคพาร์กินสันคืออะไร

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “โรคสันนิบาตลูกนก” คือ หนึ่งในกลุ่มโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท (Progressive Neurodegenerative Disease) ที่สร้างสารสื่อประสาท “โดพามีน” ส่งผลให้ระดับของ โดพามีน ในสมองลดลง ทำให้การควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายทำงานผิดปกติ

โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาท ที่พบมากเป็น อันดับที่ 2 รองจากโรคอัลไซเมอร์ จากสถิติ พบผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มากกว่า ล้านคนทั่วโลก มักพบในประชากรที่อายุมากกว่า 55 ปี และเป็นไปได้มากว่าจำนวนผู้ป่วยโรคพาร์คินสันในประเทศไทยจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

สาเหตุของโรคพาร์กินสัน ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ได้แก่

  • ปัจจัยทางพันธุกรรม : มีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคพาร์กินสัน
  • ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม : การได้รับสารพิษหรือสารเคมีจำพวกโลหะหนัก เช่น แมงกานีส ทองแดง โดยการสัมผัส การรับประทาน การสูดดม, การอาศัยอยู่ในเขตอุตสาหกรรม, การได้รับบาดเจ็บทางสมอง

อาการของโรคพาร์กินสัน

  • อาการสั่น
  • เคลื่อนไหวช้า เดินช้า ทำงานช้า ลายมือเปลี่ยน พูดช้า
  • กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ข้อยึดติด
  • เสียสมดุลการทรงตัว ก้าวเดินลำบาก ก้าวสั้น ๆ ถี่ ๆ
  • แสดงความรู้สึกทางสีหน้าไม่ได้ ลักษณะคล้ายสีหน้าไร้อารมณ์
  • ท้องผูก
  • การรับกลิ่นลดลง
  • การนอนผิดปกติ นอนละเมอออกท่าทาง

ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสัน

  • ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอายุมากกว่า 55 ปี
  • มีคนในครอบครัวป่วยเป็น พาร์กินสัน โดยเฉพาะญาติสายตรง

การวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน

  • การซักประวัติ การตรวจร่างกาย
  • การเอกซเรย์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Brain MRI)

 

การรักษาโรคพาร์กินสัน

  • ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถช่วยประคับประคองให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยาวนานที่สุดได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
  • การรักษาด้วยการรับประทานยา
  • การรักษาด้วยการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึก ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในผู้ป่วยรายที่อาการของโรค ดำเนินไปสู่ระยะท้ายแล้ว
  • การทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความแข็งแรง และความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน

เพราะอาการของโรคพาร์กินสันนั้นทำให้การดำเนินชีวิตเกิดอุปสรรค ที่สำคัญโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ คนรอบข้างจึงควรทำความเข้าใจและคอยช่วยดูแล เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่นขึ้น โดยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

  • ช่วยผู้ป่วยในการบริหารร่างกาย เพื่อป้องกันการเกิดข้อยึดติด ฝึกการทรงตัว เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • คอยระวังเรื่องอุบัติเหตุ การล้ม ปัญหาการกลืน การพูด
  • ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ เนื่องจากผู้ป่วยพาร์กินสันจะสามารถทำ กิจกรรมต่าง ๆ ได้ช้า จึงทำให้มักมีอาการท้องผูก
  • นอกเหนือจากการดูแลทางด้านร่างกายแล้ว ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจผู้ป่วยและคอยดูแลสภาพจิตใจของผู้ป่วยด้วย เนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหานอนไม่หลับ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมี ปัญหาด้านจิตใจ มีความวิตกกังวล และอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า จนแยกตัวออกห่างจากสังคม

เห็นกันไหมคะว่าโรคพาร์กินสันนั้นเป็นโรคร้ายทางสมองที่ไม่ใช่แค่อาการสั่นเกร็ง เพราะผู้ป่วย พาร์กินสันนั้นนอกจากจะต้องได้รับการดูแลทางด้านร่างกายแล้ว ยังต้องได้รับการดูแลทางด้านจิตใจอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามยิ่งตรวจเจอเร็ว รักษาเร็ว ผู้ป่วยพาร์กินสันก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าแน่นอนค่ะ

สำหรับใครที่อยากเข้าใจผู้ป่วยพาร์กินสันมากขึ้น หรือมีคนในครอบครัวเริ่มมีอาการของโรคพาร์กินสัน หรืออยากรู้ถึงการดูแลผู้ป่วยพาร์กินสันที่ถูกวิธี สามารถเข้ามาร่วมฟังงานสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “เทคนิคการดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน ฉบับครอบครัว” ซึ่งบรรยายโดย PNKG Recovery Center โดยจะจัด ขึ้นผ่านทางช่องทางออนไลน์ ในวันเสาร์ที่ 22 มกราคม 2565 นี้เวลา 10:00 – 11:00 น. ที่ https://booking.princhealth.com/parkinson-con



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์