Header

ข้อเข่าเสื่อม คืออะไร?

blank ศูนย์ Joint Surgery Center โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ข้อเข่า เป็นข้อที่ต้องรับแรงกดจากน้ำหนักตัวในเกือบทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน โดยมีกระดูกอ่อนทำหน้าที่ปกป้องและดูดซับแรงกระแทกภายในข้อ ซึ่งเมื่อถูกใช้งานหนัก ๆ อาจทำให้เกิดอาการของ ข้อเข่าเสื่อม ได้

การเสื่อมเกิดจากกระดูกอ่อนมีการสึกหรอ อักเสบ หรือหลุด แตกออกจากพื้นผิว จนอาจทำให้กระดูกในข้อเข่าเสียดสีกันเอง เกิดการอักเสบรุนแรงขึ้น มีเสียงในข้อ มีอาการปวดเพิ่มขึ้น ข้อโก่ง ผิดรูปและไม่สามารถเดินได้ปรกติในที่สุด

สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม

  • เช่น ขาหรือเข่าผิดรูป
  • เริ่มพบสัญญาณของข้อเข่าเสื่อมได้ตั้งแต่อายุประมาณ 40 ปี
  • ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปจะมีแนวโน้มของการเกิดข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าผู้ชายที่อายุเท่ากัน
  •  
  • เช่น เส้นเอ็นฉีกขาดทำให้ความมั่นคงของข้อต่อเสียไป หรือมีการฉีกขาดของกระดูกอ่อนโดยตรง
  • ท่าทางบางอย่างที่ต้องงอเข่ามาก เช่น การคุกเข่า หรือนั่งยองๆ ซึ่งทำให้เข่าต้องรับแรงกดสูงกว่าปกติเป็นเวลานานหรือบ่อยครั้ง
  • เช่น รูมาตอยด์ เกาท์ ส่งผลให้กระดูกอ่อนถูกทำลายและเกิดข้อเข่าเสื่อมได้ตั้งแต่อายุน้อย 

การวินิจฉัยอาการเสื่อมของข้อเข่า

  • การซักประวัติอาการ ตรวจร่างกาย โรคประจำตัว ยาที่ใช้ประจำรวมทั้งยาสมุนไพร รูปแบบการใช้งานข้อเข่า
  • การเอกซเรย์
  • การเจาะเลือดในผู้ป่วยบางราย
  • การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เพื่อดูโครงสร้างของข้อเข่า เช่น การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การสแกนด้วยคอมพิวเตอร์

การรักษาเข่าเสื่อม

การรักษาที่ไม่ใช่การผ่าตัด

ช่วยบรรเทาอาการปวดและช่วยให้เข่าเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ได้แก่

  • ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต ได้แก่ รับประทานอาหารที่เหมาะสมเพื่อควบคุมน้ำหนักตัว ออกกำลังกายชนิดส่งแรงกระแทกข้อเข่าน้อยเป็นประจำ เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดิน เพื่อส่งเสริมให้ข้อเข่าแข็งแรงขึ้น
  • ลดน้ำหนักหากมีน้ำหนักตัวมากเกินไป เพื่อลดแรงกดบนข้อเข่า
  • รับประทานยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
  • การฝึกกล้ามเนื้อต้นขาและ กายภาพบำบัด

การรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้านเดียว (Unicompartmental Knee Replacement: UKR)
    • การผ่าตัดด้วยวิธีมาตรฐาน
    • การผ่าตัดข้อเข่าเทียมด้านเดียว
  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อ (Total Knee Replacement: TKR)
    • การผ่าตัดด้วยวิธีมาตรฐาน
    • การผ่าตัดด้วยการใช้คอมพิวเตอร์นำวิถี

ซึ่งเมื่อเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแล้วก็จะมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างนาน แต่ทั้งนี้แล้วแต่การใช้งานและปัจจัยอื่น ๆ อย่างเช่น อายุ น้ำหนัก ที่อาจส่งผลต่อการเสื่อมของข้อเทียมได้

 

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาได้ที่ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ที่นี่

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง

เบอร์โทรศัพท์ (+66)02 0805999



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์