Header

ออกกำลังกายแล้วปวดหลัง สัญญาณเสี่ยงที่ควรพบแพทย์

การออกกำลังกายถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการดูแลสุขภาพที่ได้รับการยอมรับ และทำกันอย่างแพร่หลาย โดยการออกกำลังกายนั้นสามารถช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ เสริมสร้างระบบการย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหาร ไปจนถึงการสร้างกล้ามเนื้อ หรือช่วยลดความซึมเศร้าหรือความเครียดได้อีกด้วย

ทว่า ในบางครั้ง การออกกำลังกายมากเกินไป หรือการออกกำลังกายผิดวิธี ก็สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น หลายคนอาจเกิดอาการปวดเข่าจากการเล่นกีฬา เนื่องจากมีอาการใช้งานกล้ามเนื้อ หรือข้อต่อบริเวณหัวเข่าผิดวิธีหรือมากเกินไป โดยนอกจากบริเวณขาหรือเข่าที่เรามักพบอาการปวดหลังเล่นกีฬาแล้ว อาการปวดหรือเจ็บหลัง ก็ถือเป็นอีกหนึ่งอาการที่มักพบได้ และที่สำคัญสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย

ทำไมออกกำลังกายแล้วถึงมีอาการปวดหลัง?

แผ่นหลังของมนุษย์นั้นประกอบด้วยกล้ามเนื้อหลายมัดที่ช่วยผยุงกระดูกสันหลังและลำตัวให้ตั้งตรง นั่นแปลได้ว่า เรามีการใช้กล้ามเนื้อหลังอยู่ตลอดเวลาอย่างเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง โดยทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่เราทำ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การยืน การนั่ง และแน่นอนว่าการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาการใช้กล้ามเนื้อหลังทั้งสิ้น เนื่องจากมนุษย์เราใช้แผ่นหลังเพื่อพยุงลำตัวและช่วยในการเคลื่อนไหวขณะออกกำลังกาย หรือแม้แต่การยกน้ำหนัก โยน ขว้าง หรือตี ดังนั้น เมื่อเราใช้งานร่างกายด้วยบริบทดังกล่าวผิดวิธีหรือมากเกินไป จึงเป็นเหตุให้เกิดอาการปวดได้

การปวดหลังจากการออกกำลังกาย มีกี่แบบ?

อาการบาดเจ็บ หรือปวดหลังจากการออกกำลังกาย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ตามบริเวณหรืออวัยวะส่วนที่เกิดอาการเจ็บปวด ได้แก่:

  • กระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังส่วนที่ได้รับผลกระทบจากการออกกำลังกายมากที่สุดคือ กระดูกสันหลังส่วนเอว ในบริเวณนี้จะมีข้อต่อกระดูกสันหลังซึ่งช่วยให้กระดูกสันหลังแต่ละชิ้นเชื่อมต่อกัน เป็นระบบที่ทำให้กระดูกสันหลังสามารถเคลื่อนไหวได้ และระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละชิ้นนี้เอง จะมีหมอนรองกระดูกสันหลังคั่นอยู่ตรงกลาง หากหมอนรองกระดูกส่วนนี้ฉีกขาดจะทำให้เกิดอาการปวดตามมาได้
  • กล้ามเนื้อหลัง อาการบาดเจ็บอาจเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อบริเวณที่ยึดติดอยู่กับกระดูกสันหลังโดยมีเส้นเอ็นที่ยึดกระดูกแต่ละชิ้นเข้าไว้ด้วยกัน
  • เส้นประสาทไขสันหลัง ในโพรงกระดูกสันหลังจะมีเส้นประสาทไขสันหลังคอยรับความรู้สึกและทำหน้าที่สั่งงานไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย หากได้รับการบาดเจ็บบริเวณนี้ อาจส่งผลให้เกิดอาการชาหรืออ่อนแรงได้

อาการบาดเจ็บส่วนหลังจากการออกกำลังกาย มีอะไรบ้าง?

  1. ความปวดจากกล้ามเนื้อหลังอักเสบ เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อหลังผิดวิธี มีการออกแรงมากเกินไป ไม่มีการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อก่อนและหลังออกกำลังกาย ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ
  2. ปวดกลางบั้นเอว เกิดจากการเคลื่อนของกระดูกอ่อนบริเวณหลังส่วนที่เชื่อมกับกระดูกเชิงกราน เนื่องจากเป็นกระดูกบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ จึงมีโอกาสได้รับบาดเจ็บมากกว่าบริเวณอื่น

สามารถป้องกันการบาดเจ็บที่หลังได้อย่างไร?

ควรมีการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อก่อนและหลังออกกำลังกาย ออกกำลังกายอย่างถูกวิธีและไม่หนักเกินไป หากมีอาการปวดหลังให้หยุดออกกำลังกายแล้วประคบด้วยน้ำแข็งเป็นเวลาประมาณ 15 – 30 นาที สามารถรับประทานยาแก้ปวดหรือยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการได้

5 สัญญาณอันตรายจากการปวดหลัง ควรพบแพทย์

  • เรื้อรังติดต่อกันนาน 3 เดือน
  • ปวดร้าวลงสะโพก ขา จนถึงน่องหรือเท้า
  • ปวดเฉียบพลัน ปวดรุนแรงจนเคลื่อนไหวไม่ได้ และไม่ทุเลาลงแม้ได้พัก
  • ปวดหลังจากได้รับอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม
  • มีอาการปวดร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้: ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ขาอ่อนแรง มีอาการชาที่ขา เท้า หรือรอบทวารหนัก เนื่องจากอาจเป็นภาวะฉุกเฉินของกระดูกสันหลัง เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือกระดูกสันหลังเคลื่อน เป็นต้น


แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการแบบไหนที่ควร “ตรวจภายใน”

เรื่องของอาการผิดปกติต่ออวัยวะภายในร่างกาย เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าภายนอก ดังนั้นในหลายๆ ครั้งกว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคร้ายอันตราย ก็อาจจะมีอยู่ในขั้นรุนแรงจนทำให้การรักษาเป็นไปด้วยความยากลำบากได้

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อาการแบบไหนที่ควร “ตรวจภายใน”

เรื่องของอาการผิดปกติต่ออวัยวะภายในร่างกาย เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าภายนอก ดังนั้นในหลายๆ ครั้งกว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคร้ายอันตราย ก็อาจจะมีอยู่ในขั้นรุนแรงจนทำให้การรักษาเป็นไปด้วยความยากลำบากได้

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

อั้นปัสสาวะบ่อย ๆ จนปัสสาวะได้น้อย มีอาการปวด ปัสสาวะขุ่น อาการเหล่านี้อาจกำลังบอกว่าเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

นพ.จักรพงศ์ จิรสิริธรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.จักรพงศ์ จิรสิริธรรม

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

อั้นปัสสาวะบ่อย ๆ จนปัสสาวะได้น้อย มีอาการปวด ปัสสาวะขุ่น อาการเหล่านี้อาจกำลังบอกว่าเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

นพ.จักรพงศ์ จิรสิริธรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.จักรพงศ์ จิรสิริธรรม

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ปวดเข่า จากการ ออกกำลังกาย เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วออกกำลังกายท่าไหนได้บ้าง?

ในบางครั้ง การออกกำลังกายก็มีส่วนให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บ เช่น ออกกำลังกายแต่ปวดเข่า และในขณะเดียวกันก็ช่วยส่งสัญญาณเตือนเมื่อร่างกายของเรากำลังมีภาวะผิดปกติได้เช่นกัน

ปวดเข่า จากการ ออกกำลังกาย เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วออกกำลังกายท่าไหนได้บ้าง?

ในบางครั้ง การออกกำลังกายก็มีส่วนให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บ เช่น ออกกำลังกายแต่ปวดเข่า และในขณะเดียวกันก็ช่วยส่งสัญญาณเตือนเมื่อร่างกายของเรากำลังมีภาวะผิดปกติได้เช่นกัน