Header

ปัญหาสุขภาพเพศชาย สามารถรักษาได้

blank บทความโดย : Men’s Health Clinic คลินิกสุขภาพเพศชาย

จุดเริ่มต้นของภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และสุขภาพทางเพศที่เสียไป และเสี่ยงที่จะเป็นหนักขึ้นจึงควรรีบไปปรึกษาแพทย์

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ คืออะไร

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศในเพศชาย หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “erectile dysfunction” (ED) ในทางการแพทย์คือ ภาวะที่อวัยวะเพศไม่สามารถแข็งตัวได้อย่างเพียงพอ หรือไม่สามารถคงการแข็งตัวไว้ได้นานขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์จนเสร็จกิจได้ ภาวะนี้แม้จะไม่อันตรายอะไรมาก แต่ก็เป็นบ่อเกิดของปัญหาต่าง ๆ เช่น ความสุขทางเพศสัมพันธภาพในคู่สมรส ไปจนถึงปัญหาครอบครัว

 

สาเหตุที่ทำให้ผู้ชายเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

สาเหตุของภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ส่วนใหญ่มักเกิดร่วมกันระหว่างโรคทางกาย กับปัญหาทางด้านจิตใจ โดยพบว่าสาเหตุหลัก ๆ ก็คือ การที่เลือดไปเลี้ยงอวัยวะเพศได้ไม่เพียงพอ โดยปกติการรักษาจะเริ่มจากการซักประวัติ และตรวจร่างกาย เมื่อสันนิษฐานได้ว่าน่าจะเกิดจากสาเหตุใด ก็อาจมีการตรวจเพิ่มเติมให้ตรงจุดตามการพิจารณาของแพทย์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงก่อนเริ่มทำการรักษา

 

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

อายุ เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ และหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่ออายุสูงขึ้น โอกาสที่จะเกิดภาวะ ED (เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ) ก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งจากสถิติพบว่า

  • ในผู้ชายอายุต่ำกว่า 40 ปี พบประมาณ 5 %
  • ในผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปี พบประมาณ 50 %

จากสภาพสังคมและเศรษฐกิจ พบว่า ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศพบมากขึ้นในกลุ่มคนที่ฐานะ/สถานะทางเศรษฐกิจสังคมที่ไม่ค่อยดีเป็นผู้มีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรัง เช่น

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด พบว่าโรคหัวใจมีผลมากที่สุดที่ทำให้เกิดภาวะ ED ระดับสูง ถึงร้อยละ 13.2
  • โรคความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดภาวะ ED ได้ร้อยละ 62 เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีความดันโลหิตสูง และพบ 8-10% ของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความดันโลหิตสูงจะมีภาวะ ED ร่วมอยู่แล้ว
  • โรคเบาหวาน ทำให้เกิดภาวะ ED ได้ร้อยละ 74.7 เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีเบาหวาน
  • ที่สำคัญไปกว่านั้นพบว่า ใครก็ตามที่มีโรคทั้ง 3 ร่วมกัน มักจะมีภาวะ ED ร่วมทุกราย
  • ผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดมาก่อน เช่น การผ่าตัดในอุ้งเชิงกราน การผ่าตัดผ่านทางท่อปัสสาวะ หรือได้รับอุบัติเหตุบริเวณอุ้งเชิงกราน อุบัติเหตุที่ไขสันหลัง
  • ผู้ที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย
  • ผู้ที่การรับประทานยาบางชนิด
  • มีพฤติกรรมอื่นๆ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ค่อยออกกำลังกาย
  • มีภาวะทางจิตใจที่ไม่ปกติ โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้า จากการศึกษาพบว่าคนที่มีภาวะซึมเศร้ามีภาวะ ED ร้อยละ 50-90

 

การป้องกันภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ทั้งทางกาย และจิตใจ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งจะเหมือนการดูแลสุขภาพโดยรวมให้ดีนั่นเอง

 

การรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

การรักษา จะมีทั้งแบบไม่ใช้ยา และแบบที่ต้องใช้ยาหรือใช้อุปกรณ์ช่วย

การใช้ยากลุ่มยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ phosphodiesterase type 5
เป็นทางเลือกแรกในการรักษาผู้ที่ไม่มีข้อห้ามใช้ (ผู้ที่ห้ามใช้ คือผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยากลุ่ม nitrate) อาการข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ ปวดศีรษะ การมองเห็นผิดปกติ อาการร้อนวูบวาบ และปวดเมื่อยตามตัว

การผ่าตัดใส่แกนองคชาตเทียม
อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องแปลกในผู้ชายสูงวัย แต่กระนั้นอายุก็ไม่ใช่สาเหตุหลัก เพราะ 75% ของผู้ชายที่มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศมักมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพ จึงพบได้แม้ในผู้ชายอายุไม่มากที่มีปัญหาสุขภาพแฝงอยู่

การที่ผู้ชายส่วนใหญ่ยังอายที่จะต้องไปพบแพทย์ก็ทำให้เสียโอกาสที่จะรีบรักษา เพราะยิ่งรักษาเร็วเท่าไหร่ การกลับมาหายดีก็จะเร็ว และได้คุณภาพชีวิตทั้งของตนเอง และคู่สมรสตามมา

ข้อดีของการไปพบแพทย์ นอกจากจะได้รักษาปัญหาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศแล้ว ผู้เข้ารับบริการก็จะได้ดูแลตัวเองในด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย เพราะส่วนหนึ่งผู้ที่มีปัญหานี้จะมีโรคบางอย่างซ่อนอยู่แต่ไม่เคยทราบมาก่อน เช่น โรคหลอดเลือดอุดตันที่จะก่อให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดในอนาคต ดังนั้นการดูแลสุขภาพเพศไม่ใช่เรื่องที่น่าอาย และยังเป็นการได้ดูแลสุขภาพร่างกาย และจิตใจของตนเองให้ดี มีความสุข และมีความมั่นใจอีกด้วย



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์