Header

โรคไต ไม่ได้เกิดจากการทานเค็มอย่างเดียว

พญ.ธัญวลัย เลิศวนิชกิจกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ พญ.ธัญวลัย เลิศวนิชกิจกุล

โรคไต (Kidney Disease) - โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

“กินเค็มระวังเป็นโรคไต” ประโยคนี้หลายคนมักใช้เตือนคนที่ชอบรับประทานอาหารรสเค็ม แต่โรคไตไม่ได้เกิดจากการรับประทานอาหารรสเค็ม หรือรสจัดอย่างเดียว

เพราะโรคนี้สามารถเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่มาจากการใช้ชีวิตประจำวันของเราเองซึ่งส่งผลให้เราเป็นโรคร้ายนี้ได้ด้วยเช่นกัน หากไตมีปัญหาจะทำให้ประสิทธิภาพในการขับของเสียลดลง ทำให้เกิดอาการตัวบวม และในที่สุดจะทำให้เกิดไตวาย หรือภาวะไตล้มเหลวได้ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับโรคไตให้มากขึ้นกันดีกว่านะคะ

 

ไตมีหน้าที่กำจัดของเสีย ควบคุมความเป็นกรด-ด่างในกระแสเลือด ควบคุมความสมดุลของเกลือแร่ และควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายอีกด้วย ดังนั้นเมื่อไตทำงานผิดปกติ หรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จะทำให้เกิดภาวะเลือดจางและขาดวิตามินได้ โดยโรคร้ายนี้มีอยู่หลายชนิด และที่พบได้บ่อย ได้แก่ กรวยไตอักเสบ ไตอักเสบ นิ่วในไต ไตเรื้อรัง และไตวาย

อาการของโรคไต

  • หนังตา ใบหน้า เท้า ขา และลำตัวบวม
  • ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ขุ่น เป็นฟอง เป็นเลือด สีชาแก่ / น้ำล้างเนื้อ
  • การถ่ายปัสสาวะผิดปกติเช่น บ่อย แสบ ขัด ปริมาณน้อย
  • ปวดหลัง คลำได้ก้อน บริเวณไต
  • ความดันโลหิตสูง
  • ซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง ไม่กระฉับกระเฉง
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน
  • เบื่ออาหาร การรับรสอาหารเปลี่ยนไป
  • ปวดศีรษะ นอนหลับไม่สนิท

 

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคไต

  • เกิดจากโรคอื่นที่มีผลกระทบกับไต เช่น เบาหวาน, ความดัน, โรคเก๊าท์ โรคต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งผลให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสื่อมลง การทำงานของไตก็จะลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะไตเสื่อม
  • อายุมากกว่า 60 ปี เนื่องจากอายุที่มากขึ้น ก็อาจจะทำให้การทำงานของไตลดลง
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไต
  • มีประวัติการเป็นโรคไตอักเสบ หรือถุงน้ำในไต ก็ทำให้ไตเสื่อมได้เช่นกัน
  • การใช้ยาผิดประเภท ใช้ยาเกินขนาด จะทำให้การทำงานของไตลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในคนไทย
  • การทานอาหารรสจัดไม่ใช่เพียงแค่รสเค็ม รวมไปถึงหวานจัด หรือเผ็ดจัดด้วยเช่นกัน
  • ดื่มน้ำน้อยเกินไป
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • มีความเครียด

 

 

การรักษาผู้ป่วยโรคไต

  • รักษาตามอาการ เช่น การรับประทานยา และควบคุมความดันโลหิตให้เหมาะสม ลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงยาบางประเภท
  • รักษาด้วยวิธีการบำบัดทดแทนไต ใช้รักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพื่อช่วยขจัดของเสียทดแทนไตที่เสียไป สามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้
    1. การฟอดเลือด เพื่อทำให้เลือดสะอาดโดยใช้ระยะเวลา 4-5 ชั่วโมง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
    2. การฟอกไตผ่านทางช่องท้อง อาศัยช่องท้องในการฟอกเลือด โดยจะฟอกวันละ 4 รอบ
    3. การปลูกถ่ายไต โดยการนำไตจากผู้บริจาคใส่เชิงกรานของผู้รับไต

 

สาเหตุการเกิดโรคไตไม่ได้มาจากการรับประทานอาหารรสเค็มเพียงอย่างเดียว พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันก็ส่งผลเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยต้องใช้ความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไตมากขึ้น ดังนั้นเราควรหมั่นคอยสังเกตอาการ และพบแพทย์ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากโรคร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้นกันนะคะ



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกอายุรกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 21.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกอายุรกรรม

พญ.ประภา ภักดีมีชัย

อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม

แผนกอายุรกรรม

นพ.อดิศร มนูสาร

อายุรแพทย์

แผนกอายุรกรรม

นพ.วิวัฒน์ จันเจริญฐานะ

อายุรศาสตร์โรคไต

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์