Header

ดื่มนมเวลาไหนได้ประโยชน์ที่สุด

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

นมเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุด เพราะนมเต็มไปด้วยสารอาหาร เช่น โปรตีน, วิตามินเอ, บี 1, บี 2, บี 12, วิตามินดี โพแทสเซียม และแมกนีเซียม แต่ทราบหรือไม่ว่าการดื่มนมเวลาไหนเกิดประโยชน์ต่อร่างกายที่สุด ?

  • ช่วงเวลา 05.00 – 07.00 น. ช่วงเวลานี้ควรดื่มนมเปรี้ยวที่มีจุลินทรีย์ เพราะเป็นช่วงที่ลำไส้ใหญ่เริ่มทำงาน เพราะจุลินทรีย์ในนมเปรี้ยวจะไปช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้ระบบขับถ่ายมีการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • ช่วงเวลา 07.00 – 09.00 น. การรับประทานอาหารเช้าคือสิ่งสำคัญ และถ้าหากดื่มนมตาม จะทำให้เรามีพลังงานในการทำงานเพิ่มขึ้น ช่วงเวลาอาหารมื้อเช้า การดื่มนมพาสเจอร์ไรส์ หรือมอลต์ในช่วงเวลานี้จะช่วยทำให้กระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารให้ดีขึ้น
  • ช่วงเวลา 09.00 – 12.00 น. การดื่มนมผสมโยเกิร์ต หรือกินโยเกิร์ตไขมันต่ำ จะสามารถไปช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองให้มีประสิทธิภาพ มีความจำที่ดี
  • ช่วงเวลา 12.00-15.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของระบบย่อยอาหาร ของกระเพาะกับลำไส้เล็ก หากดื่มนมเปรี้ยวในช่วงเวลานี้จะไปช่วยให้ลำไส้เล็กย่อยและดูดซึมอาหารได้ดียิ่งขึ้น แนะนำดื่มหลังอาหาร
  • ช่วงเวลา 15.00 – 17.00 น. ควรเลือกดื่มนมเปรี้ยวอีกครั้ง เพราะเป็นช่วงเวลาการทำงานของกระเพาะปัสสาวะและเพื่อช่วยทำให้ระบบการทำงานของกระเพาะปัสสาวะขับถ่ายของเสียได้ดียิ่งขึ้น
  • ช่วงเวลา 17.00 – 21.00 น. เป็นช่วงที่ร่างกายต้องการพักผ่อน การดื่มนมที่มีวิตามิน C และ E แทนอาหารเย็น จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและหัวใจได้ดี
  • ช่วงเวลา 21.00 – 23.00 น. การดื่มนมอุ่น ๆ ในเวลานี้จึงเหมาะสมที่สุด และเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีที่สุดอีกด้วย

การดื่มนมมีประโยชน์ต่อร่างกายไม่ว่าจะเวลาไหน แต่การดื่มนมในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณแคลอรี่สูง เช่นเดียวกับอาหารทุกอย่าง เราควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม โดยกระทรวงสาธารณสุข แนะนำคนไทยดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย สำหรับเด็กที่กำลังเจริญเติบโตและวัยรุ่น ควรดื่มนมวันละ 2-3 แก้ว สำหรับผู้ใหญ่ ให้ดื่มนมวันละ 1-2 แก้ว

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผลวิจัยสูตรวัคซีน SSA กระตุ้นภูมิโควิด-19

ก่อนหน้านี้ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับศิริราชพยาบาล เผยว่า การรับวัคซีนสลับชนิด อย่าง ‘ซิโนแวค – แอสตร้าเซนเนก้า’ หรือสูตรไขว้ SA พบสร้างภูมิสูงกว่าการรับซิโนแวคสองเข็มกว่า 3 เท่า และสร้างภูมิสูงกว่าการรับแอสตร้าเซนเนก้าสองเข็มเล็กน้อย

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ผลวิจัยสูตรวัคซีน SSA กระตุ้นภูมิโควิด-19

ก่อนหน้านี้ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับศิริราชพยาบาล เผยว่า การรับวัคซีนสลับชนิด อย่าง ‘ซิโนแวค – แอสตร้าเซนเนก้า’ หรือสูตรไขว้ SA พบสร้างภูมิสูงกว่าการรับซิโนแวคสองเข็มกว่า 3 เท่า และสร้างภูมิสูงกว่าการรับแอสตร้าเซนเนก้าสองเข็มเล็กน้อย

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ไวรัสตับอักเสบเอ และบี ภัยร้ายที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัส คือ ภาวะการอักเสบของตับ ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ สายพันธ์เอ บี หรือซี ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการตับอักเสบเฉียบพลัน หรือกรณีไวรัสตับอักเสบสายพันธ์บี และซี สามารถทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง เพิ่มความเสี่ยงโรคตับแข็งและโรคมะเร็งตับ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ไวรัสตับอักเสบเอ และบี ภัยร้ายที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัส คือ ภาวะการอักเสบของตับ ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ สายพันธ์เอ บี หรือซี ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการตับอักเสบเฉียบพลัน หรือกรณีไวรัสตับอักเสบสายพันธ์บี และซี สามารถทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง เพิ่มความเสี่ยงโรคตับแข็งและโรคมะเร็งตับ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม