Header

อารมณ์สองขั้ว...ไบโพลาร์ กับการดูแลตัวเอง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

อารมณ์สองขั้ว ไบโพลาร์ กับการดูแลตัวเอง | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย อารมณ์แปรปรวนขึ้นง่ายลงยาก…เริ่มเข้าใกล้โรคอารมณ์สองขั้ว(ไบโพลาร์)หรือไม่?

โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว หรือ ไบโพลาร์ (bipolar disorder) คืออะไร ?

คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางอารมณ์ เนื่องจากผู้ป่วยมีสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุลกัน ผู้ป่วยจึงเกิดการแสดงออกกับตัวเอง และบุคคลทั่วไปที่ผิดปกติ ต่างออกเป็นสองขั้ว ขั้วแรก คือเศร้า ซึมเศร้ามาก ขั้วที่สอง คือสุข คึกคักร่าเริงแจ่มใสมดูเป็นพิเศษ จากเหตุของความแตกต่างทางอารมณ์ดังกล่าว จึงเรียกโรคนี้ว่า “โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ ไบโพลาร์”

 

ไบโพลาร์ เกิดจากสาเหตุ ?

  • พันธุกรรม อย่างที่ทราบว่า พันธุกรรมเป็นต้นเหตุ ของการสืบทอดของโรคต่างๆมากมาย ในปัจจุบันเรามักพบผู้ป่วย ที่มีความเกี่ยวข้องกันในครอบครัว ป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์เหมือนกัน
  • สารสื่อประสาทในสมองมีความผิดปกติเกิดขึ้น ได้แก่ สารเซโรโทนิน (Serotonin) สารนอร์อะดรีนาลีน (Noradrenaline) และสารโดปามีน (Dopamine) ส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติของการทำงานระบบสมองในส่วนต่าง ๆ ที่แปรผลเกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์ และทำให้การแสดงออกทางจิตใจแปรเปลี่ยนไป ผู้ป่วยจึงเกิดอาการของโรคขึ้น
  • ความทุกข์จากวิกฤตหนักในชีวิต ในชีวิตของแต่ละคน ล้วนมีประสบการณ์ ภูมิหลัง ครอบครัว สถานภาพทางการเงินรวมถึงการอบรมสั่งสอนที่แตกต่างกันไป ทำให้ในช่วงชีวิตของแต่ละคน เมื่อต้องเผชิญหน้ากับเรื่องราวหนัก ๆ หรือภาวะวิกฤตของชีวิต จนอาจจะทำให้เกิดความเครียดและช็อคทางอารมณ์  เช่น ความเครียดสะสมจากการทำงาน ตกงาน ภาวะสูญเสียคนรักอย่างรวดเร็ว หรือมีเรื่องมากระทบจิตใจอย่างรุนแรง หรือการเจ็บป่วยกะทันหัน ซึ่งทุกๆเรื่องที่กล่าวมา ล้วนส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของตัวเองโดยตรง แต่ไม่ว่าจะมาจากทางใดก็ตาม ล้วนส่งผลให้เกิดเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว หรือไบโบล่าร์ได้

ไบโพลาร์มีอาการอย่างไร “คุณ” ใช่ไบโพลาร์หรือไม่ ?

หลายครั้งที่แพทย์พบว่า ผู้ป่วยไบโพลาร์ จะไม่ค่อยรู้ตัวว่า ตัวเองมีอาการที่เป็นโรค เพราะอาการของโรคนี้มี 2 ระยะ

1. ระยะแมเนีย (Manic Episode) ระยะแรกผู้ป่วยจะค่อนข้างมีความเชื่อมั่น และมั่นใจในตัวเองสูง พูดเร็ว คิดเร็ว ทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยความรวดเร็ว หุนหันพลันแล่น เหมือนลืมตัว การนอนไม่ดี นอนไม่หลับ นอนน้อย การพักผ่อนลดน้อยลง พฤติกรรมการใช้เงินเกินตัว ฟุ่มเฟือย ขาดสติ ความคิดก้าวร้าว เอาแต่ใจตัวเอง หรืออาจะชวนทะเลาะ หรือมีเรื่องกับคนอื่นได้ง่าย

อาการแมเนียที่เด่นชัด

  • มีอีโก้กับตัวเอง คิดว่าตัวเองเป็นคนสำคัญ และให้การตีค่าตนเองสูง คิดว่าตัวเองแน่ เป็นใหญ่
  • พูดจ้อไม่หยุด พูดมาก คุยโวโอ้อวด
  • ร่างกายและจิตใจรู้สึกว่า ตัวเองอยู่ไม่สุข กระวนกระวาย
  • ไม่ยอมหลับยอมนอน คึกคักเป็นพิเศษ
  • คิดการใหญ่ ใจโตกับการใช้เงิน หรือทำโน่นทำนี่ให้เห็นว่า ตนโดดเด่นเป็นพิเศษ แบบผิดจากปกติ
  • ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลดูแปลกแยก ชอบใช้ความคิดโลดแล่นคนเดียว ไม่อยากฟังใครทักท้วง
  • การใช้จ่ายผิดปกติจากเดิม เช่น ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย จนอาจจะก็หนี้เกินกว่าเหตุ เจออะไรก้อใช้จ่าย
     

2. ระยะซึมเศร้า (Depressive Episode) ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ซึมเศร้า เหงา ท้อแท้ เบื่อ จนรู้สึกขี้เกียจไม่อยากทำอะไร กระวนกระวายใจ ไม่มีสมาธิ แยกตัวจากสังคมและคนใกล้ชิด ตัวเองจะรู้สึกว่าอยากอยู่นิ่ง ๆ อยากนอนทั้งวัน หรืออาจมีอาการนอนไม่หลับ บางครั้งกินมาก กินจุ หรือเบื่ออาหาร ไม่อยากทานอะไรเลย คิดมากจนหนักๆเข้าก็รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า  อาจคิดสั้น มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายตัวเองเกิดขึ้น

อาการแมเนียที่เด่นชัด

  • ไม่มีความสนใจ ขาดความเพลิดเพลินในเรื่องต่างๆรอบตัว พฤติกรรมเก็บตัว อยู่กับตัวเองมากขึ้น
  • น้ำหนักลดลง เบื่ออาหาร
  • ร่างกายอ่อนเพลีย รู้สึกว่าไม่มีเรียวแรง ร้องไห้ได้ง่าย
  • การตัดสินใจไม่ดี ความมีสมาธิลดลง ตัดสินใจเรื่องง่ายได้ลำบาก ลังเลคิดเย่อะขึ้น
  • คิดสั้น ในบางรายเริ่มคิดหรือทำร้ายตัวเอง อยากตาย มีความรู้สึกไม่อยากอยู่บนโลก

โรคไบโพล่าร์ รักษาได้… ก็หายได้

โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ ไบโพลาร์ เกิดจากสารสื่อประสาทสมองผิดปกติ ดังนั้นจิตแพทย์ที่ทำการรักษา ผู้ป่วย ต้องให้การรับฟังและวินิจฉัย เพื่อเปรียบเทียบตรวจเช็คอาการของผู้ป่วยอย่างละเอียด

 

การรักษาไบโพล่าร์

จิตแพทย์จะให้การรักษาโรคไบโพลาร์ โดยการรับฟัง วินิจฉัย และวิเคราะห์หลัก ๆ ถึงสาเหตุและอาการของโรค ดังนั้นมีความจำเป็นที่ตัวของผู้ป่วยต้องได้รับยา โดยแพทย์จะให้ทานยา เป็นการรับประทานยา เพื่อปรับอารมณ์ให้คงที่ ขึ้นอยู่กับชนิดของอาการไบโพล่าร์ของผู้ป่วย และที่จิตแพทย์จะพยายามย้ำผู้ป่วยเรื่องสำคัญที่สุด คือ การทานยารักษาอย่างต่อเนื่อง ห้ามผู้ป่วยหยุดยาเอง หรือลดยาโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้โรครุนแรงกว่าเดิม และต้องเริ่มกระบวนการรักษาใหม่ ซึ่งจะทำให้อาการของโรคสวิงไม่นิ่ง

นอกจากนี้ จิตแพทย์ควรบอกเล่า อาการของผู้ป่วย และการดูแลผู้ป่วย ให้ครอบครัวและคนใกล้ชิด เข้าใจในการปฏิบัติตัว และสามารถอยู่กับผู้ป่วยได้อย่างดี สิ่งสำคัญที่จิตแพทย์ แนะนำให้ผู้ป่วยทำควบคู่กันคือ การทำจิตบำบัด หรือ กิจกรรมบำบัด เพราะนักจิตบำบัด จะช่วยจิตแพทย์ วิเคราะห์ค้นหาว่า อะไรคือสาเหตุ ที่ผู้ป่วยเกิดโรคไบโพล่าร์ และการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย ดังนั้น  กำลังใจสำคัญของผู้ป่วยไบโพลาร์ คือ คนรัก ครอบครัว และคนใกล้ตัวใกล้ชิด จึงสำคัญมาก

ไบโพลาร์ เป็นเพียงแค่อาการป่วย ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกคน และจิตแพทย์สามารถให้การรักษาดูแลได้ จนหายขาด แต่เน้นย้ำเรื่องการรับประทานยา และการปฏิบัติตัวอย่างมีวินัย ผู้ป่วยที่ติดตามการรักษากับจิตแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็สามารถที่จะหายขาดจากโรคไบโพลาร์ หรือ อารมณ์สองขั้ว กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขในสังคม

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์