Header

ตรวจโควิดแบบ ATK กับ RT-PCR ต่างกันอย่างไร ตรวจแบบไหนดี

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ปัจจุบันมีวิธีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ค่อนข้างหลากหลาย โดยวิธีที่คุ้นหูและรู้จักกัน จะเป็นการตรวจแบบเร่งด่วน Antigen Test Kit (ATK) และแบบ RT-PCR (Real Time PCR) โดยการตรวจหาเชื้อ โควิด-19 ทั้ง 2 วิธีจะใช้การเก็บสารคัดหลั่งที่โพรงจมูก หรือลำคอด้วยการ Swab แต่มีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างกัน ซึ่งการตรวจโควิด-19 ถือเป็นเรื่องใหม่ในวงการแพทย์ จึงทำให้หลายคนยังสงสัยกันอยู่ว่ามีวิธีตรวจกี่แบบ และแต่ละแบบต่างกันอย่างไร ควรตรวจแบบไหนดีเรามาทำความเข้าใจกันที่บทความนี้กันเลยค่ะ

Real-Time PCR กับ Antigen Test Kit (ATK) ต่างกันอย่างไร ?

การตรวจหาเชื้อ Covid-19 ทั้ง 2 วิธี ใช้สิ่งส่งตรวจจากสารคัดหลั่งที่โพรงจมูก หรือลำคอ ด้วยการ Swab เหมือนกัน แต่มีรายละเอียดต่างกันดังนี้

การตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ RT-PCR หรือ  Real Time PCR

วิธีการตรวจ

  • เป็นการ Swab เก็บสารคัดหลั่งทางเดินหายใจส่วนบน ทางจมูก กระพุ้งแก้มและลำคอ
  • ต้องตรวจที่โรงพยาบาลเท่านั้น
  • เป็นการเก็บสารคัดหลั่ง และนำสารคัดหลั่งเข้าไปตรวจในห้องปฏิบัติการ (Lab)

สิ่งที่ตรวจหา      

  • ตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19

ระยะเวลาในการรอผล 

  • ประมาณ 24-72 ชั่วโมง โดยทางโรงพยาบาลที่ทำการตรวจจะแจ้งผลผ่านทาง SMS ,อีเมล์ หรือทางโทรศัพท์

ความแม่นยำในการตรวจ การยืนยันผล

  • มีความแม่นยำสูง สามารถยืนยันผลได้ทันที
  • ไม่จำเป็นต้องตรวจซ้ำ
  • เป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ

ข้อดีของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ RT-PCR

  • ตรวจพบเชื้อได้แม้ติดเชื้อมาเพียง 3 วัน
  • สามารถหาเชื้อจากตัวอย่างที่ปริมาณน้อยได้

การตรวจแบบ RT-PCR เหมาะกับใคร

  • การตรวจแบบ RT-PCR เหมาะกับผู้ที่มีความเสี่ยง มีอาการ หรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ
  • ผู้ที่ต้องการยืนยันผล หลังจากตรวจหาเชื้อด้วย Antigen Test Kit (ATK) แล้วได้ผลบวก
  • ผู้ที่ต้องการใบรับรองแพทย์ หรือเดินทางไปต่างประเทศ

 

 

การตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ ATK หรือ Antigen Test Kit
วิธีการตรวจ

  • เป็นการ Swab เก็บสารคัดหลั่งทางเดินหายใจส่วนบน ทางจมูก กระพุ้งแก้ม ลำคอ และน้ำลาย
  • ใช้วิธีการอ่านสีบน Strip Test
  • สามารถซื้อชุดตรวจมาตรวจได้เองที่บ้าน

สิ่งที่ตรวจหา      

  • ตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือองค์ประกอบของไวรัส

ระยะเวลาในการรอผล 

  • 15-30 นาที ผู้ตรวจสามารถอ่านผลได้เอง

ความแม่นยำในการตรวจ การยืนยันผล

  • อาจมีความคลาดเคลื่อนจากวิธีการตรวจ หรือชุดตรวจที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือชำรุด หากไม่มั่นใจสามารถตรวจซ้ำได้ทันที หรือเว้นระยะ 1-3 วัน

ข้อดีของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ ATK หรือ Antigen Test Kit

  • สะดวก รวดเร็ว
  • หาซื้อง่าย
  • สามารถตรวจได้ด้วยตัวเอง

ข้อจำกัดของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ ATK หรือ Antigen Test Kit

  • อาจไม่พบเชื้อหากมีเชื้อน้อย
  • ต้องรอ 3-5 วันเพื่อให้มีเชื้อมากขึ้นจึงตรวจพบ
  • ต้องได้รับเชื้อมาแล้ว 5-14 วันผลถึงจะมีความแม่นยำ
  • เมื่อตรวจพบผลเป็นบวก (+) ต้องทำการตรวจซ้ำเพื่อยืนยันผลด้วยวิธี RT-PCR

การตรวจแบบ ATK หรือ Antigen Test Kit เหมาะกับใคร

  • ผู้มีความสงสัยว่าจะติดเชื้อโควิด และต้องการตรวจหาเชื้อในเบื้องต้น
  • ผู้ที่สงสัยว่าจะติดเชื้อ แต่ยังไม่มีอาการ


สรุปได้ว่า สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างการตรวจแบบ ATK กับ RT-PCR ก็คือ วิธีการตรวจเชื้อ สิ่งที่ตรวจ ระยะเวลารอผล ความแม่นยำของผลตรวจ และโอกาสการพบเชื้อนั่นเอง ซึ่งหากตรวจแบบ ATK แล้วผลออกมาเป็นบวก (พบเชื้อโควิด-19) จะต้องทำการตรวจแบบ RT-PCR เพื่อยืนยันผลอีกครั้งนะคะ

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5

เราจึงเห็นภาวะเหมือนหมอกปกคลุมตลอดทั้งวัน โดยส่วนประกอบที่มีอันตรายส่วนหนึ่งคือ  ฝุ่น  PM 2.5  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเรา ไม่มากก็น้อย  ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจกับ ฝุ่นประเภทนี้    เพื่อจะได้ดูแลตนเอง และครอบครัว ให้ปลอดภัยจาก ฝุ่น PM 2.5 กันครับ

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5

เราจึงเห็นภาวะเหมือนหมอกปกคลุมตลอดทั้งวัน โดยส่วนประกอบที่มีอันตรายส่วนหนึ่งคือ  ฝุ่น  PM 2.5  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเรา ไม่มากก็น้อย  ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจกับ ฝุ่นประเภทนี้    เพื่อจะได้ดูแลตนเอง และครอบครัว ให้ปลอดภัยจาก ฝุ่น PM 2.5 กันครับ

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เครื่องเอกซเรย์ทั่วไประบบดิจิตอล (Digital General X-ray)

เป็นการถ่ายภาพโดยใช้รังสีเอกซ์เพื่อนำมาวินิจฉัยโรคต่างๆ สามารถใช้สร้างภาพต่างๆในร่างกายได้ เช่น ปอด ช่องท้อง กะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง แขน ขา เป็นต้น

เครื่องเอกซเรย์ทั่วไประบบดิจิตอล (Digital General X-ray)

เป็นการถ่ายภาพโดยใช้รังสีเอกซ์เพื่อนำมาวินิจฉัยโรคต่างๆ สามารถใช้สร้างภาพต่างๆในร่างกายได้ เช่น ปอด ช่องท้อง กะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง แขน ขา เป็นต้น

การคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย โดยจะมีอุบัติการณ์มากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้นตั้งแต่50ปีขึ้นไป นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงเช่น การตรวจพบติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่(colonic polyp), การมีญาติใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, โรคลำไส้อักเสบ(inflammatory bowel disease), การทานผักน้อยและทานเนื้อสัตว์จำนวนมาก เป็นต้น

การคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย โดยจะมีอุบัติการณ์มากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้นตั้งแต่50ปีขึ้นไป นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงเช่น การตรวจพบติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่(colonic polyp), การมีญาติใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, โรคลำไส้อักเสบ(inflammatory bowel disease), การทานผักน้อยและทานเนื้อสัตว์จำนวนมาก เป็นต้น