Header

ประโยชน์ของการตรวจ Sleep Test

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

การนอนถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสิ่งหนึ่งในชีวิต เพราะทุก ๆ วันเราจะมีการนอน ⅓ ของวัน (ประมาณ 8 ชั่วโมง) อีกทั้งยังเป็นช่วงที่เราไม่รับรู้อะไรมากที่สุด

ซึ่งถ้าหากในช่วงการนอนของเรานั้น ไม่มีประสิทธิภาพ หรือถึงขั้นมีปัญหาเรื่องของนอน เช่น การหยุดหายใจชั่วขณะ การตื่นมาแล้วไม่สดชื่นปวดหัว หากปล่อยไว้ สิ่งเหล่านี้จะเป็นเหมือนระเบิดเวลาที่คอยบั่นทอนสุขภาพ

การตรวจ Sleep Test จะวินิจฉัยโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น เป็นการตรวจที่เป็นมาตรฐาน (Standard Investigation) ที่ใช้ในการวินิจฉัยและประเมินระดับความรุนแรงของโรค

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea; OSA) ซึ่งจะมีผลต่อการวางแผนและการตัดสินใจทางเลือกในการรักษา เช่น อาจใช้ในการตั้งค่าความดันลม (Pressure Titration) ในกรณีที่รักษาโรคด้วยเครื่องเป่าความดันลมบวกเพื่อขยายช่องทางเดินหายใจ (Continuous positive airway pressure; CPAP), การปรับระดับของเครื่องมือในช่องปาก (Oral Appliances)

นอกจากนี้ยังใช้พิจารณาเลือกวิธีการผ่าตัดทางเดินหายใจและใช้ติดตามผลการรักษา ตลอดจนช่วยในการวินิจฉัยโรคความผิดปรกติอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนอนได้อีกด้วยการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) คืออะไร?

การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) คือ การตรวจเพื่อสังเกตและวัดการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกายขณะนอนหลับ เช่น ระบบการหายใจ การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ระดับออกซิเจนในเลือด และกล้ามเนื้อ และเพื่อตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติของการนอนหลับ เช่น การนอนกรนและหยุดหายใจชั่วขณะหลับ อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวาย โรคของหลอดเลือดในสมอง ความจำเสื่อม ตลอดจนสมรรถภาพทางเพศเสื่อมลงได้ อีกทั้งการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) ยังประเมินความรุนแรงของโรคได้ เช่น โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ การกระตุกของกล้ามเนื้อต่าง ๆ โดยข้อมูลที่ได้จะนำมาพิจารณาเพื่อวางแผนและติดตามการรักษาให้ถูกต้อง

ใครควรเข้ารับการตรวจการนอนหลับ

  • ผู้ที่นอนกรนดังผิดปกติ
  • ผู้ที่ง่วงนอนตอนกลางวันมากผิดปกติ
  • ผู้ที่ตื่นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น ตื่นมาแล้วปวดหัว ทั้ง ๆ ที่ได้นอนอย่างเพียงพอ
  • ผู้ที่หายใจลำบาก และสงสัยว่าจะหยุดหายใจขณะหลับ
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมการนอนผิดปกติอื่น ๆ เช่น นอนกัดฟัน ฉี่รดที่นอน นอนละเมอ นอนกระตุก นอนฝันร้าย สะดุ้งตื่นเป็นประจำ เป็นต้น
  • ผู้ที่ป่วยเป็นโรคต่างๆ เช่น หัวใจวาย ไตวาย ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
  • ผู้ที่แพทย์สงสัยว่าอาจมีภาวะชักขณะนอนหลับหรือเป็นโรคลมหลับ (Narcolepsy)
  • ผู้เข้ารับการตรวจควรพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคการนอนหลับโดยตรง
  • ผู้เข้ารับการรักษาควรพาคนที่นอนด้วยมาพบกับแพทย์ด้วย เนื่องจากพฤติกรรมบางอย่างผู้ที่นอนด้วยจะสามารถให้รายละเอียดได้ดีกว่าผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับ
  • ผู้ที่คิดว่าตัวเองมีปัญหาเรื่องการนอน ซึ่งสามารถเช็คความเสี่ยงของตัวเองได้จากการปรึกษาแพทย์ หรือผ่านแบบฟอร์มทดสอบของโรงพยาบาพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ประโยชน์ของการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)

การนอนถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสิ่งหนึ่งในชีวิต เพราะทุก ๆ วันเราจะมีการนอน ⅓ ของวัน (ประมาณ 8 ชั่วโมง) อีกทั้งยังเป็นช่วงที่เราไม่รับรู้อะไรมากที่สุด ซึ่งถ้าหากในช่วงการนอนของเรานั้น ไม่มีประสิทธิภาพ หรือถึงขั้นมีปัญหาเรื่องของนอน เช่น การหยุดหายใจชั่วขณะ การตื่นมาแล้วไม่สดชื่นปวดหัว หากปล่อยไว้ สิ่งเหล่านี้จะเป็นเหมือนระเบิดเวลาที่คอยบั่นทอนสุขภาพ

การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) จะวินิจฉัยโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น เป็นการตรวจที่เป็นมาตรฐาน (Standard Investigation) ที่ใช้ในการวินิจฉัยและประเมินระดับความรุนแรงของโรค ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea; OSA) ซึ่งจะมีผลต่อการวางแผนและการตัดสินใจทางเลือกในการรักษา เช่น อาจใช้ในการตั้งค่าความดันลม (Pressure Titration) ในกรณีที่รักษาโรคด้วยเครื่องเป่าความดันลมบวกเพื่อขยายช่องทางเดินหายใจ (Continuous positive airway pressure; CPAP), การปรับระดับของเครื่องมือในช่องปาก (Oral Appliances) นอกจากนี้ยังใช้พิจารณาเลือกวิธีการผ่าตัดทางเดินหายใจและใช้ติดตามผลการรักษา ตลอดจนช่วยในการวินิจฉัยโรคความผิดปรกติอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนอนได้อีกด้วย

แบบทดสอบเพื่อเช็คความเสี่ยงด้านการนอนของคุณ : https://princ.wispform.com/00979aed

แบบฟอร์มสั่งจองเครื่อง Sleep Test : https://forms.gle/qZHzQFvDmWCf1NPQ9

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ออฟฟิศซินโดรม (OFFICE SYNDROME )

กลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม ไม่ใช่โรคหรือการเจ็บป่วยที่ร้ายแรง แต่หากไม่ได้รับการป้องกันหรือรักษาที่ถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน และความสุขในการทำงานได้

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ออฟฟิศซินโดรม (OFFICE SYNDROME )

กลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม ไม่ใช่โรคหรือการเจ็บป่วยที่ร้ายแรง แต่หากไม่ได้รับการป้องกันหรือรักษาที่ถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน และความสุขในการทำงานได้

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรค NCDs โรคที่เกิดจากพฤติกรรม

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกและของประเทศไทย และเป็นสาเหตุของ การเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 70 ของการเสียชีวิตทั้งหมด

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรค NCDs โรคที่เกิดจากพฤติกรรม

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกและของประเทศไทย และเป็นสาเหตุของ การเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 70 ของการเสียชีวิตทั้งหมด

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เข้าใจและรับมือกับ ‘โรคซึมเศร้า’

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่าโรคซึมเศร้าเป็นเพียงอาการ หรือสภาพจิตใจที่เปลี่ยนไปเพียงชั่วครู่ หลังจากเกิดความผิดหวัง หรือได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจ และสามารถรักษาได้ด้วยการให้กำลังใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคซึมเศร้ารุนแรงกว่านั้นมาก

blank บทความโดย : คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เข้าใจและรับมือกับ ‘โรคซึมเศร้า’

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่าโรคซึมเศร้าเป็นเพียงอาการ หรือสภาพจิตใจที่เปลี่ยนไปเพียงชั่วครู่ หลังจากเกิดความผิดหวัง หรือได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจ และสามารถรักษาได้ด้วยการให้กำลังใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคซึมเศร้ารุนแรงกว่านั้นมาก

blank บทความโดย : คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม