Header

ผ่าตัดปอดโดยวิธีการส่องกล้องแบบไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ผ่าตัดมะเร็งปอด

นพ.ศิระ เลาหทัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย

ผ่าตัดส่องกล้องไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ | สำหรับผู้ผ่าตัดมะเร็งปอด | รพ.พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ทางเลือกใหม่กับการผ่าตัดส่องกล้องปอด
คือการผ่าตัดส่องกล้องในทรวงอกแบบไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ 

เป็นที่ทราบกันดีว่าการผ่าตัดในช่องทรวงอกนั้นการผ่าตัดจะเป็นแบบเปิดเป็นการผ่าตัดพื้นฐานที่นิยมทำกันมาอย่างยาวนาน แต่ด้วยเทคโนโลยีด้านการแพทย์ในปัจจุบันมีการพัฒนามาก ส่งผลทำให้วิธีการผ่าตัดมีการเปลี่ยนแปลงจากการผ่าตัดแบบเปิด ซึ่งทำให้ผู้ป่วยต้องเกิดอาการเจ็บปวดบริเวณแผลผ่าตัด ทั้งยังใช้เวลาพักฟื้นยาวนาน รวมถึงโอกาสติดเชื้อที่บริเวณแผลผ่าตัด ปอดติดเชื้อ และอื่น ๆ ดังนั้นการผ่าตัดแบบเดิม จึงค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยวิธีการผ่าตัดแบบส่องกล้องเพิ่มมากขึ้น โดยการผ่าตัดแบบส่องกล้องนั้น มีผลดีคือทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล เสียเลือดน้อยลง รวมไปถึงลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด

ผ่าตัดปอดโดยวิธีการส่องกล้องแบบไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ


เมื่อไม่นานมานี้ นพ.ศิระ เลาหทัย ศัลยแพทย์ทรวงอกผู้ชำนาญการด้านการผ่าตัดส่องกล้อง  โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้นำการผ่าตัดทางเลือกใหม่ที่เรียกว่า การผ่าตัดส่องกล้องในทรวงอกแบบไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ มาริเริ่มในประเทศไทย

โดยเป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ซึ่งขณะผ่าตัดจะใช้วิธีดมยาสลบแบบปริมาณไม่มาก ทำให้ผู้ป่วยเคลิ้ม และไม่จำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจขณะผ่าตัด เทคนิคนี้สามารถลดอาการบาดเจ็บทางเส้นเสียง รวมไปถึงสามารถลดภาวะแทรกซ้อนจากยาที่ใช้ดมยาสลบทั่วไป นอกจากนี้แผลผ่าตัดบริเวณข้างลำตัวมีเพียงตำแหน่งเดียว ขนาด 3 – 4 ซม.

ซึ่งจะสามารถลดผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้นจากการผ่าตัดแบบเปิด ทั้งนี้แพทย์ผู้รักษาจะพิจารณาว่าคนไข้เหมาะสมกับการผ่าตัดชนิดไหนที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
การผ่าตัดส่องกล้อง ชนิดนี้สามารถทำได้ในหลาย ๆ โรค เช่น 


1.มะเร็งปอดระยะเริ่มต้น (lung cancer)
2.โรคลมรั่วในเยื่อหุ้มปอด  (recurrent pneumothorax) 
3.โรคเนื้องอก หรือจุดในปอด (solitary lung nodule) 
4.หนองในเยื่อหุ้มปอดระยะเริ่มต้น ( Empyema thoracis) 
5.โรคเนื้องอกในช่องทรวงอก (mediastinum tumour eg. thymoma)

 

ผ่าตัดปอดโดยวิธีการส่องกล้องแบบไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ


อาการของโรคปอด และในทรวงอกเป็นอย่างไร และทำไมควรต้องตรวจพบในระยะแรก

ผู้ป่วยของโรคปอด มักไม่มีอาการ หากมีอาการมักจะมีอาการอย่างเช่น เหนื่อยง่าย ไอเรื้อรัง หรือเจ็บแน่นหน้าอก ในผู้ป่วยบางราย เมื่อแสดงอาการแล้ว ก้อนอาจจะลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ส่งผลทำให้การรักษาอาจได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร
 แล้วใครบ้างควรได้การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มคน 2  กลุ่ม ได้แก่

1. ผู้ที่มีอาการทางระบบหายใจ ได้แก่ : กลุ่มผู้ที่มีอาการไอเรื้อรัง โดยเฉพาะไอมีเสมหะ ไอเป็นเลือด  เหนื่อย เจ็บหน้าอก
2. ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง ได้แก่ : กลุ่มผู้ที่สูบบุหรี่ ทำงานในโรงงานที่มีมลภาวะ ควัน ก๊าซเคมีที่เป็นพิษต่อทางเดินหายใจและปอด, ทำงานในเหมืองแร่ โรงโม่หิน โรงผลิตซีเมนต์, ทำงานในบรรยากาศ ที่อาจปนเปื้อนสารกัมมันตภาพ, ผู้ป่วยที่มีพ่อ หรือแม่เป็นโรคมะเร็งปอด
 ทั้งนี้คนที่ไม่มีอาการ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ควรหมั่นดูแลสุขภาพ และตรวจเช็คร่างกายเป็นประจำ เพราะว่ามะเร็งปอดสามารถพบได้ในคนที่ไม่สูบบุหรี่ หรือไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ หากตรวจพบโรคขณะที่ยังไม่มีอาการ โอกาสหายขาดจะมีมากขึ้น
 

บทความโดย :  ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย
ศัลยแพทย์ทรวงอกผู้ชำนาญการด้านการผ่าตัดส่องกล้อง
โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ (บางนา กม 6.5)



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง (MIS)

ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง (MIS)

สถานที่

อาคาร B ชั้น 4

เวลาทำการ

24 ชั่วโมง

เบอร์ติดต่อ

แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกศัลยกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4110

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกศัลยกรรม

แผนกศัลยกรรม

นพ.จักรี ธัญยนพพร

ศัลยศาสตร์หลอดเลือดสมอง และไขสันหลัง

แผนกศัลยกรรม

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

30 มกราคม 2567

ผ่าตัดหมอนรองกระดูก-ส่องกล้อง Endoscope Discectomy

หากต้องการทำการผ่าตัดที่บริเวณกระดูกสันหลังนั้น แพทย์มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดแผลใหญ่เพื่อทำการรักษา ปัจจุบันมีการพัฒนาการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ทำให้การผ่าตัดอวัยวะที่อยู่ลึกสามารถทำได้อย่างสะดวก ชัดเจน ปลอดภัย

blank ผศ.นพ. ปิลันทน์ ใจปัญญา หมอกระดูก ผู้ชำนาญการพิเศษด้านกระดูกสันหลัง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

30 มกราคม 2567

ผ่าตัดหมอนรองกระดูก-ส่องกล้อง Endoscope Discectomy

หากต้องการทำการผ่าตัดที่บริเวณกระดูกสันหลังนั้น แพทย์มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดแผลใหญ่เพื่อทำการรักษา ปัจจุบันมีการพัฒนาการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ทำให้การผ่าตัดอวัยวะที่อยู่ลึกสามารถทำได้อย่างสะดวก ชัดเจน ปลอดภัย

blank ผศ.นพ. ปิลันทน์ ใจปัญญา หมอกระดูก ผู้ชำนาญการพิเศษด้านกระดูกสันหลัง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

29 มกราคม 2567

ส่องกล้องทางเดินอาหารไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

การส่องกล้องจะใช้เพื่อวินิจฉัยสภาวะที่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร การส่องกล้องสามารถช่วยระบุแผล เลือดออก โรคช่องท้อง การอุดตัน การอักเสบ และเนื้องอก สามารถช่วยค้นหาสาเหตุของอาการที่ไม่สามารถอธิบายได้

29 มกราคม 2567

ส่องกล้องทางเดินอาหารไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

การส่องกล้องจะใช้เพื่อวินิจฉัยสภาวะที่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร การส่องกล้องสามารถช่วยระบุแผล เลือดออก โรคช่องท้อง การอุดตัน การอักเสบ และเนื้องอก สามารถช่วยค้นหาสาเหตุของอาการที่ไม่สามารถอธิบายได้

เอ็นไขว้หน้า ฉีกขาด MIS ช่วยอาการ บาดเจ็บ น้อยลง

MIS ช่วยให้อาการ บาดเจ็บ ของผู้ป่วยน้อยลง แผลเล็ก ฟื้นตัวรวดเร็ว ใช้เวลาพักฟื้นโรงพยาบาลเพียง 1 - 2 คืน

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เอ็นไขว้หน้า ฉีกขาด MIS ช่วยอาการ บาดเจ็บ น้อยลง

MIS ช่วยให้อาการ บาดเจ็บ ของผู้ป่วยน้อยลง แผลเล็ก ฟื้นตัวรวดเร็ว ใช้เวลาพักฟื้นโรงพยาบาลเพียง 1 - 2 คืน

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม