Header

ตรวจหาแคลเซียม และหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CORONARY CALCIUM SCORE

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ตรวจหาแคลเซียม | และหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ตรวจหาแคลเซียม และหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CORONARY CALCIUM SCORE

การตรวจหาปริมาณแคลเซียม หรือหินปูนที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องมือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan)



 

ตรวจหาแคลเซียม และหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CORONARY CALCIUM SCORE

  การตรวจหาปริมาณแคลเซียม หรือหินปูนที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจโดยใช้เครื่องมือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan) ซึ่งแคลเซียม หรือหินปูน ในผนังหลอดเลือดหัวใจแสดงถึงความเสื่อม และการอักเสบของหลอดเลือดหัวใจ  สามารถตรวจพบได้ก่อนจะมีการตีบ

ตันของหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งนำไปสู่การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย และเสียชีวิตเฉียบพลัน โดยแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจไม่ได้พบเฉพาะผู้ที่มีอายุมากเท่านั้น แต่ยังพบได้ในคนที่มีไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน หรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ เป็นต้น



 



 

     หากตรวจไม่พบแคลเซียม หรือหินปูนที่ผนังหลอดเลือดแดงโคโรนารี่ (Coronary calcium score) หรือพบค่าเป็น 0 จะบ่งชี้ว่าความเสี่ยงที่จะมีหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือโอกาสเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันต่ำมาก ในทางตรงกันข้าม หากค่า (Coronary calcium score) สูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าที่มากกว่า 400 จะบ่งชี้ว่าคุณอาจจะมีหลอดเลือดตีบแล้ว และมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ภายในระยะเวลา 2 – 5 ปี สูงมาก แม้ว่าจะมีอาการ หรือไม่มีก็ตาม



 

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบมีอะไรบ้าง

- ผู้ที่มีอายุ 45 ปี ขึ้นไป

- ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ

- มีโรคประจำตัว เช่น ไขมันในเลือดสูง, โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง

- สูบบุหรี่

- อ้วน / เครียด / ไม่ชอบออกกำลังกาย



 



 

ประโยชน์ของการตรวจหาแคลเซียม หรือหินปูนในหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่อง CT Scan

- เป็นการตรวจที่ไม่อันตราย

- ไม่เจ็บตัว

- ไม่ต้องฉีดสารทึบรังสี

- ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

- ใช้เวลาตรวจประมาณ 10 – 15 นาที หลังตรวจสามารถทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ

 

เครื่องนี้มีความเร็วในการสแกนภาพสูง สามารถสแกนภาพขณะที่หัวใจเต้นได้ดี และบอกปริมาณคราบหินปูนที่สะสมอยู่ในผนังหลอดเลือดหัวใจได้แม่นยำ และภาพคมชัดต่อเนื่อง แพทย์จึงสามารถใช้เครื่องนี้ เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันของผู้ป่วยแต่ละรายได้


 

บทความโดย :  โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ (บางนา กม 6.5)

#หัวใจคุณให้พริ้นซ์ช่วยดูเเล

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -15.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4601 หรือ 092 131 6465

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องของหัวใจ อย่านิ่งนอนใจ

เรามาลองสังเกตตัวเองกันดีกว่า ถ้าพบความผิดปกติก็อย่านิ่งนอนใจ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจ

blank ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เรื่องของหัวใจ อย่านิ่งนอนใจ

เรามาลองสังเกตตัวเองกันดีกว่า ถ้าพบความผิดปกติก็อย่านิ่งนอนใจ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจ

blank ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว Holter Monitoring เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก

blank บทความโดย : ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว Holter Monitoring เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก

blank บทความโดย : ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหัวใจ (Heart Disease)

โรคหัวใจ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน ทำให้โรคหัวใจมีอาการต่างกันไปในแต่ละชนิด

blank บทความโดย : ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหัวใจ (Heart Disease)

โรคหัวใจ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน ทำให้โรคหัวใจมีอาการต่างกันไปในแต่ละชนิด

blank บทความโดย : ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม