Header

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม และลดการติดเชื้อหลังผ่าตัด

นพ.กุลพัชร จุลสำลี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.กุลพัชร จุลสำลี

ผ่าตัดเข่า - โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม และลดการติดเชื้อหลังผ่าตัด

ในผู้สูงอายุมักมีอาการข้อเข่าเสื่อม ทำให้การเคลื่อนไหวผิดปกติ ต้องได้รับการรักษาวิธีหนึ่ง คือ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ซึ่งมีความเสี่ยงในเรื่องของการติดเชื้อ ดังนั้นผู้ป่วยต้องเตรียมตัวก่อนการรักษา และดูแลหลังการรักษาให้ถูกต้อง โดยครั้งนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม และการดูแลหลังผ่าตัด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโดยเฉพาะ รวมถึงข้อมูลการรักษาหลังติดเชื้อ

 

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

1. มีอาการปวด เพราะจุดประสงค์ในการรักษาคือ บรรเทาอาการปวด และเพิ่มการเคลื่อนไหว

2. มีการเคลื่อนไหวของข้อที่ผิดปกติ เช่น เหยียด หรืองอเข่าไม่สุด เข่าผิดรูป (เข่าโก่ง หรือเกออกด้านนอก)

3. ควรผ่านการรักษาด้วยวิธีอื่นมาก่อน หากผลลัพธ์ไม่ดี จึงผ่าตัดตามลำดับ

4. ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมควรมีอายุ 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใส่มีโอกาสสึกหรอตามกาลเวลาหากผ่าตัดก่อนอายุ 40 ปี จะมีการผ่าตัดครั้งต่อไปตามมา โดยปกติแล้วอุปกรณ์จะมีอายุประมาณ 15-20 ปี

 

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าในคนที่ได้รับอุบัติเหตุ

ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุ และเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่ามีบ้าง แต่ปกติแล้วผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุมักมีอาการกระดูกหัก ต้องได้รับการผ่าตัดยึดกระดูกก่อน หากกระดูกแตกเป็นเศษ ไม่สามารถเรียงข้อให้เรียบได้ มีโอกาสเกิดข้อเข่าเสื่อมตามมาได้ แต่ถึงอย่างไรการพิจารณาผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมก็ต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย

 

ข้อห้ามในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

  1. ผู้ที่มีการติดเชื้อในเข่า และยังรักษาไม่หายขาด
  2. ผู้ที่มีการติดเชื้อบางอย่างในร่างกาย เช่น ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อในช่องปาก เป็นต้น
  3. ผู้ที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมร่วมกับกล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง เนื่องจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมไม่สามารถแก้ไขภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ คนไข้จะไม่สามารถใช้งานขาได้ กรณีนี้จำเป็นต้องรักษาด้วยแนวทางอื่น
  4. ผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อมร่วมกับการสูญเสียการทำงานของเส้นประสาทรับความรู้สึก charcot's arthropathy คนกลุ่มนี้ไม่รู้สึกเจ็บที่เข่า แต่การผ่าตัดมีจุดประสงค์คือลดอาการบาดเจ็บ จึงไม่จำเป็นต้องผ่า นอกจากนี้การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโอกาสประสบความไม่สำเร็จสูง เช่น มีการหลวมของข้อเทียมก่อนสมควร โอกาสการติดเชื้อของข้อเทียมที่สูง เป็นต้น หากจำเป็นต้องผ่าตัดเนื่องจากข้อเข่าผิดรูป อาจพิจารณาผ่าตัดรูปแบบอื่นได้ ขึ้นอยู่กับกรณี

 

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

เช็คสุขภาพโดยละเอียด ตรวจคัดกรองเกี่ยวกับการติดเชื้อ หากคนไข้ติดเชื้อที่บริเวณใด ต้องได้รับการรักษาอาการติดเชื้อนั้นให้หายดีก่อน จึงเข้ารับการผ่าตัดได้

 

ข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

1. การผ่าตัดใช้เวลา 1/2-2 ชั่วโมงต่อการผ่าตัดขาหนึ่งข้าง

2. การฟื้นตัว หลังผ่าตัดประมาณ 3-4 เดือน พื้นตัวร้อยละ 80-90 และฟื้นตัวเต็มที่ใกล้เคียงปกติ หลังผ่าตัด 1 ปีขึ้นไป

 

การดูแลหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

  1. 1ให้คนไข้เดินได้เท่าที่ทนไหวหรือเท่าที่ไม่มีอาการเจ็บ
  2. หากมีปัญหาเรื่องน้ำหนัก ควรลดน้ำหนักก่อนถ้าทำได้ ค่อยเริ่มเดิน แต่ไม่ถึงกับเป็นข้อห้าม
  3. ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ การติดเชื้อในข้อเข่าหลังผ่าตัด เพราะในคนที่ผ่าตัดจะมีอวัยวะเทียมอยู่ในร่างกาย ซึ่งบริเวณข้อเข่าเทียมเป็นบริเวณที่ภูมิคุ้มกันเข้าไม่ถึง เมื่อมีการติดเชื้อขึ้นจึงรักษาได้ยาก โดยทุกคนที่ผ่าตัดจะมีความเสี่ยงเรื่องของการติดเชื้อประมาณร้อยละ 1 จึงควรดูแลสุขภาพให้เเข็งแรงเสมอ รับประทานอาหารถูกสุขลักษณะ หากไม่สบายให้รีบพบแพทย์
  4. ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของข้อเข่าเทียม คือหัตถการที่เกี่ยวข้องกับช่องปากและทางเดินปัสสาวะ ดังนั้นการพบทันตแพทย์ หรือแพทย์ที่เกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ ต้องแจ้งก่อนทุกครั้งว่าเคยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

 

อาการติดเชื้อหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

มีอาการเข่าบวม เวลางอเข่าจะรู้สึกเจ็บ ไม่สามารถเหยียด หรืองอเข่าได้เหมือนเดิม หากปล่อยทิ้งไว้ จะเริ่มมีไข้ต่ำ ๆ กรณีที่เชื้อเข้าสู่กระแสเลือด และถ้าหากปล่อยทิ้งไว้นาน จะเริ่มมีหนองไหลออกมาจากหัวเข่า

 

การรักษาอาการติดเชื้อจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

1.หากพบแพทย์เร็ว อาการยังไม่หนัก อาจเพียงแค่รักษาโดยการผ่าตัดล้างข้อเข่า เปลี่ยนแผ่นรองรับน้ำหนักที่เข่า และให้ยาฆ่าเชื้อประมาณ 4-6 สัปดาห์

2. หากพบแพทย์ช้า อาการเริ่มหนัก คือมีหนองไหล หรือข้อเทียมเริ่มหลวม การรักษาจำเป็นต้องเอาข้อเทียมออกแล้วใส่ปูนชีเมนต์ที่ปั้นเลียนแบบลักษณะข้อเทียมพร้อมทั้งผสมยาฆ่าเชื้อเช้าไปในปูนซีเมนต์ ยาฆ่าเชื้อจะค่อย ๆ ออกมาตลอดเวลา 1 เดือนในเข่า เมื่ออาการติดเชื้อลดลงจนเป็นปกติ จึงนำข้อเทียมอันจริงใส่กลับเข้าไป


อาการติดเชื้อหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

มีอาการเข่าบวม เวลางอเข่าจะรู้สึกเจ็บ ไม่สามารถเหยียด หรืองอเข่าได้เหมือนเดิม หากปล่อยทิ้งไว้ จะเริ่มมีไข้ต่ำ ๆ กรณีที่เชื้อเข้าสู่กระแสเลือด และถ้าหากปล่อยทิ้งไว้นาน จะเริ่มมีหนองไหลออกมาจากหัวเข่า

 

การรักษาอาการติดเชื้อจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

1. หากพบแพทย์เร็ว อาการยังไม่หนัก อาจเพียงแค่รักษาโดยการผ่าตัดล้างข้อเข่า เปลี่ยนแผ่นรองรับน้ำหนักที่เข่า และให้ยาฆ่าเชื้อประมาณ 4-6 สัปดาห์

2. หากพบแพทย์ช้า อาการเริ่มหนัก คือมีหนองไหล หรือข้อเทียมเริ่มหลวม การรักษาจำเป็นต้องเอาข้อเทียมออก แล้วใส่ปูนซีเมนต์ที่ปั้นเลียนแบบลักษณะข้อเทียมพร้อมทั้งผสมยาฆ่าเชื้อเข้าไปในปูนซีเมนต์ ยาฆ่าเชื้อจะค่อย ๆ ออกมาตลอดเวลา 1 เดือนในเข่า เมื่ออาการติดเชื้อลดลงจนเป็นปกติ จึงนำข้อเทียมอันจริงใส่กลับเข้าไป

 

บทความโดย : นพ.กุลพัชร จุลสำลี แผนกกระดูกและข้อ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้

Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์กระดูกและข้อ

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4110

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์กระดูกและข้อ

พญ.นัฎฐิชา เสาวธารพงศ์

ออร์โธปิดิกส์

ศูนย์กระดูกและข้อ

ผศ.นพ.ปิลันธน์ ใจปัญญา

ศัลยแพทย์กระดูก, กระดูกสันหลัง

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ศัลยแพทย์กระดูก

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์