Header

มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับที่สามของคนไทย ผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่าจะรู้ว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือเมื่อมาพบแพทย์ก็มักพบโรคในระยะที่เป็นมากแล้ว ซึ่งทำให้มีโอกาสการเสียชีวิตสูง การตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และการมาพบแพทย์ตั้งแต่ มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มแรกเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะสำหรับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว ถ้ารู้เร็ว รักษาเร็ว และถูกวิธีก็จะมีโอกาสหายมากขึ้น ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักกันให้มากขึ้นกันนะคะ

มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มักเกิดจากติ่งเนื้อขนาดเล็ก ที่เรียกว่า โพลิป (Polyp) เป็นเซลล์เนื้อผิดปกติ ที่งอกจากผนังลำไส้ มีขนาดประมาณปลายนิ้วก้อย เนื่องจากขนาดที่เล็กของติ่งเนื้อ จึงทำให้ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติ โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 5-10 ปี ในการเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งลำไส้ ซึ่งหากสามารถตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่เริ่มแรก และทำการตัดรักษาได้จนหมดจะเป็นการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

อาการที่พบมักขึ้นกับตำแหน่งของมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ด้านขวา จะมีอาการอ่อนเพลีย ซีดจากการเสียเลือดเรื้อรัง น้ำหนักลด ปวดท้อง หรือคลำได้ก้อน ถ้ามะเร็งลำไส้ใหญ่ด้านซ้าย มาด้วยอาการ ปวดท้อง ถ่ายเป็นมูกเลือด ท้องผูกสลับท้องเสีย และถ้ามะเร็งอยู่ที่ทวารหนัก (rectum) อาจมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกเลือด ซีดลง ถ่ายไม่สุด ถ่ายลำเล็กลง ถ่ายเป็นเม็ดกระสุน จนถึงอุดตันจนถ่ายไม่ออก

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • การได้รับถ่ายทอดทางพันธุกรรม พ่อ แม่ หรือญาติพี่น้อง และทายาทสายตรง
  • มีประวัติพบเนื้องอก (Polyps) ในลำไส้ หากพบมากมีแนวโน้มเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  • ประวัติการเจ็บป่วยเดิมเช่นเคยเป็นมะเร็งรังไข่, มดลูก, เต้านมมีโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนักได้
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นมะเร็งได้ง่าย
  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
  • การรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์หรือประเภทเนื้อแดง ที่ผ่านการปรุงด้วยความร้อนนาน ๆ มากเกินไป
  • การรับสารพิษเข้าสู่ร่างกายและมีการตกค้างที่ลำไส้ มักพบสารพิษในอาหารประเภท ปิ้ง ย่าง อาหารหมักดอง และ สารเคมีจากผักที่ไม่สะอาด
  • ผู้ที่มีประวัติดื่มสุราหรือสูบบุหรี่
  • ผู้ที่เป็นโรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน (มากกว่า 25 หรือมีรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว)

การรักษา

  • การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ขึ้นอยู่กับระยะของโรค โดยมะเร็งระยะเริ่มต้นสามารถรักษาได้โดยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และตัดก้อนเนื้อออก
  • ในรายที่เป็นมากจนมะเร็งเลยชั้นผิวลำไส้ ต้องได้รับการรักษาผ่าตัดซึ่งอาจเป็นแบบส่องกล้องเจาะช่องท้องหรือแบบเปิด และมักต้องมีการรักษาร่วมหลังการผ่าตัด เช่น การใช้ยาเคมีบำบัด หรือการฉายรังสีรักษา
  • ผลการรักษาขึ้นอยู่กับลักษณะความก้าวร้าวของเซลล์มะเร็งว่าเป็นเช่นไร ร่วมกับระยะของโรคที่วินิจฉัยได้รวดเร็วเพียงใด
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่หากสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ จะสามารถรักษาให้หายขาดได้มากขึ้น จึงควรป้องกันและสังเกตตัวเอง หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยต่อไป

มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่พบบ่อยการตรวจคัดกรองหรือระวังที่ดี และถูกต้อง คอยสังเกตอาการตัวเองว่าปวดท้อง ถ่ายเป็นมูกเลือด ท้องผูกสลับท้องเสีย หรือคลำได้ก้อนหรือไม่ จะช่วยให้ตรวจพบรอบโรคได้ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งหรือมะเร็งระยะแรก ทำให้การรักษาโรคได้อย่างทันท่วงที การส่องกล้องลำไส้ใหญ่เป็นวิธีการตรวจที่ไว และจำเพาะที่สุด เป็นวิธีเดียวที่สามารถรักษาไปพร้อม ๆ กันได้



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดหัวไมเกรน

หลายคนคงต้องประสบกับอาการปวดศีรษะที่เรียกว่า “ไมเกรน” ซึ่งเจ้าไมเกรนนี้ ถือเป็นอีก หนึ่งโรคที่เป็นอันตรายมากกว่าที่คิด

ปวดหัวไมเกรน

หลายคนคงต้องประสบกับอาการปวดศีรษะที่เรียกว่า “ไมเกรน” ซึ่งเจ้าไมเกรนนี้ ถือเป็นอีก หนึ่งโรคที่เป็นอันตรายมากกว่าที่คิด

ตรวจโควิดแบบ ATK กับ RT-PCR ต่างกันอย่างไร ตรวจแบบไหนดี

ปัจจุบันมีวิธีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ค่อนข้างหลากหลาย โดยวิธีที่คุ้นหูและรู้จักกัน จะเป็นการตรวจแบบเร่งด่วน Antigen Test Kit (ATK) และแบบ RT-PCR (Real Time PCR)

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตรวจโควิดแบบ ATK กับ RT-PCR ต่างกันอย่างไร ตรวจแบบไหนดี

ปัจจุบันมีวิธีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ค่อนข้างหลากหลาย โดยวิธีที่คุ้นหูและรู้จักกัน จะเป็นการตรวจแบบเร่งด่วน Antigen Test Kit (ATK) และแบบ RT-PCR (Real Time PCR)

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วัคซีนที่จำเป็นต่อลูกน้อย

วัคซีนสำหรับลูกน้อย คืออะไรเเม่ไม่เข้าใจ พ่อ แม่ต้องรู้ !!! ตารางฉีดวัคซีนแรกเกิด – 12 ขวบ

นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วัคซีนที่จำเป็นต่อลูกน้อย

วัคซีนสำหรับลูกน้อย คืออะไรเเม่ไม่เข้าใจ พ่อ แม่ต้องรู้ !!! ตารางฉีดวัคซีนแรกเกิด – 12 ขวบ

นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม