Header

โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ ไบโพลาร์ (Bipolar Disorder)

ไบโพลาร์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เคยรู้สึกว่าตัวเองมีอารมณ์แปรปรวน อารมณ์ร้าย สลับกับอารมณ์ดี จนส่งผลกระทบต่อการทำงาน หรือกระทบกับความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้างบ้างไหม ? เคยสงสัยไหมว่าอาการแบบนี้ถือว่าเป็นโรคไบโพลาร์หรือไม่ หายเองได้ไหม ต้องไปหาหมอหรือเปล่า ? บทความนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับโรคไบโพลาร์ให้มากขึ้น

โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (bipolar disorder) คืออะไร ?

“โรคไบโพล่าร์” (Bipolar Disorder) หรือโรคอารมณ์สองขั้ว คือโรคความผิดปกติทางอารมณ์แบบหนึ่งที่เกิดจากสารเคมีในสมองไม่สมดุล ทำให้ผู้ป่วยเกิดการแสดงออกของอารมณ์ที่ผิดปกติเป็นสองขั้ว คือซึมเศร้ามาก และคึกคักพุ่งพล่านมาก จึงเรียกโรคโบโพล่าร์ว่า “โรคอารมณ์สองขั้ว” ไม่ใช่เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เดี๋ยวสนุกเดี๋ยวซึม อย่างที่หลาย ๆ คนชอบเข้าใจกัน จากการศึกษาพบผู้ป่วยไบโพลาร์มากถึง 1.5-5 % ของประชาชนทั่วไป พบผู้ป่วยบ่อยที่สุดในช่วงอายุ 15-19 ปี และอายุ 20-24 ปี โดยผู้ป่วยมีอาการครั้งแรกก่อนอายุ 20 ปี มากถึง 50% โดยไบโพล่าเกิดจาก สาเหตุดังนี้

  • ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ได้แก่ สารนอร์อะดรีนาลีน (Noradrenaline) สารเซโรโทนิน (Serotonin) และสารโดปามีน (Dopamine) ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของสมองที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์
  • พันธุกรรม ปัจจุบันยังไม่ทราบรูปแบบที่ชัดเจนของการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์   แต่พบผู้ป่วยมักมีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคไบโพลาร์เช่นเดียวกัน
  • วิกฤตชีวิต เช่น สูญเสียคนรัก ตกงาน เครียดเรื้อรัง หรือเจ็บป่วยกะทันหัน ซึ่งส่งผลกระทบต่ออารมณ์อย่างรุนแรง

อาการอย่างไรจึงจะเรียกว่าไบโพล่าร์ ?

ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์มักจะไม่รู้ตัวเองในช่วงที่เป็น เพราะอาการของไบโพล่าร์มี 2 ระยะ คือ

ระยะแมเนีย (Manic Episode) ผู้ป่วยจะมีความมั่นใจในตัวเอง คิดเร็ว ทำเร็ว ทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย นอนน้อยลง ใช้เงินฟุ่มเฟือย ทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยง ลงทุนแบบไม่ยั้งคิดจนอาจก่อหนี้สินมากมาย ก้าวร้าว มักก่อเรื่องทะเลาะวิวาท เช่น

  • รู้สึกคุณค่าตัวเองสูงเกินจริง บางครั้งคิดว่าตนเองเป็นใหญ่
  • ไม่หลับไม่นอน กระสับกระส่าย อยู่ไม่สุข
  • พูดมาก พูดไม่หยุด
  • คิดฟุ้งซ่าน จะทำโน่นทำนี่ คิดทำการใหญ่โต
  • วุ่นวาย กิจกรรมมาก อาจใช้จ่ายผิดปกติมาก
  • สัมพันธภาพกับผู้อื่นเสีย

ระยะซึมเศร้า (Depressive Episode) ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ซึมเศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้ ไม่อยากทำอะไร ขาดสมาธิ แยกตัว อยากอยู่นิ่ง ๆ อยากนอนทั้งวัน หรืออาจมีอาการนอนไม่หลับ บางครั้งกินมากหรือเบื่ออาหาร รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า อาจมีความคิดอยากฆ่าตัวตายเกิดขึ้น เช่น

  • หมดความสนใจและความเพลิดเพลินลงมาก
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก ใน 1 เดือน
  • ไม่หลับหรือหลับมากไป
  • อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง
  • รู้สึกผิดหรือไร้ค่า ร้องไห้ง่าย
  • สมาธิลดลง ลังเลใจ ตัดสินใจอะไรไม่ได้
  • คิดอยากตาย หรือการฆ่าตัวตาย

 

โรคไบโพล่าร์รักษาถูกทาง ก็หายได้

เนื่องจากนี่เป็นโรคที่เกิดจากสารสื่อประสาทในสมองผิดปกติ การรักษาไบโพล่าร์หลัก ๆ จึงจำเป็นต้องได้รับยาโดยแพทย์จะให้ทานยาเพื่อปรับอารมณ์ให้คงที่ขึ้นอยู่กับชนิดของไบโพล่าร์ที่ผู้ป่วยเป็น แต่สิ่งสำคัญที่ควรทำควบคู่กันเพื่อผลดีในระยะยาวคือการทำจิตบำบัด หรือกิจกรรมบำบัด เพราะจิตแพทย์จะสามารถค้นหาว่าอะไรคือสาเหตุที่ผู้ป่วยเกิดโรคไบโพล่าร์นอกเหนือจากกรรมพันธุ์ และจิตแพทย์ยังสามารถแนะนำวิธีดูแลผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ให้กับครอบครัวหรือคนใกล้ชิดในการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยได้อีกด้วย ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคนี้ และที่สำคัญที่สุดคือการทานยารักษาอย่างต่อเนื่อง ห้าม   หยุดยาเอง หรือลดยาโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้โรครุนแรงกว่าเดิม และต้องเริ่มกระบวนการรักษาใหม่ตั้งแต่ต้น นอกจากนี้ผู้ป่วยที่รู้ตัวว่าป่วยควรหันมาดูแลตัวเอง ห้ามอดนอน ควบคุมเวลานอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง พยายามหาวิธีแก้ปัญหา ลดความเครียด และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชูกำลัง กาแฟ ห้ามใช้สารเสพติด สุรา ร่วมด้วย

โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ ไบโพลาร์ คือโรคความผิดปกติทางอารมณ์แบบหนึ่งที่เกิดจากสารเคมีในสมองไม่สมดุล จำเป็นต้องได้รับยาโดยแพทย์ แต่สิ่งสำคัญที่ควรทำควบคู่กันเพื่อผลดีในระยะยาวคือการทำจิตบำบัด หรือกิจกรรมบำบัด การรับมือกับการที่มีคนในบ้านเป็นไบโพลาร์ ครอบครัวและคนไกล้ตัวจึงสำคัญมาก สุดท้ายนี้อยากให้ทุกคนเข้าใจว่า ไบโพลาร์นั้นเป็นเพียงอาการป่วยรูปแบบหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ผู้ที่ป่วยไม่ได้แปลว่าเป็นบ้าหรือน่ารังเกียจ โดยโรคไบโพลาร์นี้สามารถรักษาให้หายได้ และผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติในสังคมได้อย่างมีความสุขค่ะ

 

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข กรมสุขภาพจิต



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

“เครียด หงุดหงิด จิตตก”...ถึงเวลาพบจิตแพทย์หรือยัง ?

“เครียด หงุดหงิด จิตตก”...ถึงเวลาพบจิตแพทย์หรือยัง ? หากสังเกตตัวเอง และคนใกล้ชิดว่า…เขาเริ่มมีพฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์ และการเข้าสังคม ที่แปลกไป

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
“เครียด หงุดหงิด จิตตก”...ถึงเวลาพบจิตแพทย์หรือยัง ?

“เครียด หงุดหงิด จิตตก”...ถึงเวลาพบจิตแพทย์หรือยัง ? หากสังเกตตัวเอง และคนใกล้ชิดว่า…เขาเริ่มมีพฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์ และการเข้าสังคม ที่แปลกไป

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เสพข่าวมากเกินไป สุขภาพจิตพัง ระวัง Headline Stress Disorder

ช่วงนี้เสพข่าวมากเกินไปรึเปล่า..ข่าวและเนื้อหาต่าง ๆ ที่เผยแพร่ในสื่อและโซเชียลมีเดีย สร้างความเศร้า ความเครียดไม่รู้ตัว

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เสพข่าวมากเกินไป สุขภาพจิตพัง ระวัง Headline Stress Disorder

ช่วงนี้เสพข่าวมากเกินไปรึเปล่า..ข่าวและเนื้อหาต่าง ๆ ที่เผยแพร่ในสื่อและโซเชียลมีเดีย สร้างความเศร้า ความเครียดไม่รู้ตัว

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ปล่อยให้ไหลไป.. การร้องไห้ ช่วยให้ดีขึ้น !

การร้องไห้ไม่ได้แสดงความอ่อนแอเสมอไป เพราะการร้องไห้เป็นการแสดงอารมณ์ที่แสนสลับซับซ้อน

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ปล่อยให้ไหลไป.. การร้องไห้ ช่วยให้ดีขึ้น !

การร้องไห้ไม่ได้แสดงความอ่อนแอเสมอไป เพราะการร้องไห้เป็นการแสดงอารมณ์ที่แสนสลับซับซ้อน

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม