Header

ไขข้อสงสัย: โรคใหลตายคืออะไร?

15 พฤศจิกายน 2565

ในอดีต หรือแม้กระทั่งในปัจจุบัน ‘โรคใหลตาย’ อาจเป็นนิยามที่ถูกเอามาใช้ในการอธิบายการเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น เข้านอนแล้วเสียชีวิตขณะหลับ  

หลายครั้ง การเสียชีวิตแบบนี้ ก็ถูกนำไปโยงกับความเชื่อต่าง ๆ มากมาย วันนี้ โรงพยาบาลในเครือพริ้นซ์ ได้นำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคใหลตาย ซึ่งเป็นคำอธิบายในมุมมองวิทยาศาสตร์ มาแบ่งปันให้ทุกคนได้เรียนรู้กัน 

 

โรคใหลตายคืออะไร? 

โรคใหลตาย (Brugada Syndrome) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้การนำเกลือแร่โซเดียมเข้าออกเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจมีความผิดปกติ ซึ่งส่งผลให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ และเสียชีวิตกระทันหันได้ 

อาจฟังดูแล้วเป็นการเสียชีวิตที่ไม่อาจทราบล่วงหน้า หรือป้องกันอะไรได้เลย ทว่า โรคใหลตาย สามารถตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ได้ โดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram หรือ ECG) และเมื่อตรวจพบ เราจึงสามารถเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และทำการรักษาโรคได้ 

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคคืออะไร? 

จากคำอธิบายของตัวโรค เราอาจตกใจกันไปว่า โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นตอนไหน แต่ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ป่วยที่มีพันธุกรรมโรคใหลตาย มีโอกาสเกิดอาการมากขึ้น ได้แก่: 

  • การเป็นไข้สูง 

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 

  • การใช้ยานอนหลับ 

  • การขาดธาตุโพแทสเซียม 

  • การใช้ยาที่เกี่ยวข้องกับการเต้นของหัวใจ 

สามารถรักษาโรคใหลตายได้อย่างไร? 

เบื้องต้น เราสามารถลดโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคใหลตาย โดยการลดปัจจัยเสี่ยงข้างต้น เช่น หากมีไข้สูง ควรใช้ยาลดไข้ ลดหรือเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น และในปัจจุบัน เรามีเทคโนโลยีการรักษา ซึ่งทำได้โดยการฝังเครื่องกระตุกหัวใจเข้าไปในร่างกาย และการรับประทานยาช่วยเสริม เพื่อป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ 

ข้อควรรู้ ควรทำอย่างไร หากมีคนในครอบครัวมีอาการโรคใหลตาย? 

  • อาการที่พบในโรคใหลตายคือ หมดสติ ชักเกร็ง หัวใจหยุดเต้น 

  • หากพบทันที ควรจับผู้ป่วยนอนราบ โทรเรียกรถพยาบาล (1669) 

  • หากผู้ป่วยไม่หายใจ หรือชีพจรที่คอไม่เต้น ให้กดหน้าอกยุบลงราว 1.5 นิ้ว แล้วปล่อยให้คลายตัว เป็นชุดด้วยความถี่ประมาณ 100ครั้ง/ นาที จนกว่าผู้ป่วยจะรู้ตัว 

  • ไม่ควรงัดปากคนไข้ด้วยช้อน ของแข็ง เพราะอาจเป็นอันตรายได้ 

  • ไม่ตระหนก ตั้งสติ และพึงระลึกเสมอว่าผู้ป่วยอาจมีอาการของโรคอื่น เช่น ลมชัก หรือโรคหัวใจ ที่อาจเป็นสาเหตุของการหมดสติได้เช่นกัน 

บทความนี้ได้รับการตรวจสอบโดย: 

นพ.ภาณุพงศ์ ดำเกิงขจรวงศ์ 

เเพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

20 มีนาคม 2566

เปิดตลาด รับสมัครร้านค้าขายของกิน ของใช้ ในงาน Healthy Festival 2023

งาน Healthy Festival 2023 วันที่ 3 - 7 เมษายน 2566 / 24 - 29 เมษายน 2566 / 8 - 12 พฤษภาคม 2566 เวลา 8.00 - 16.00 น. ณ ลานกิจกรรม ชั้น G อาคาร A

20 มีนาคม 2566

เปิดตลาด รับสมัครร้านค้าขายของกิน ของใช้ ในงาน Healthy Festival 2023

งาน Healthy Festival 2023 วันที่ 3 - 7 เมษายน 2566 / 24 - 29 เมษายน 2566 / 8 - 12 พฤษภาคม 2566 เวลา 8.00 - 16.00 น. ณ ลานกิจกรรม ชั้น G อาคาร A

17 มีนาคม 2566

นอนไม่หลับ ส่งผลร้ายต่อสุขภาพ

"โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ" ออกหน่วยให้ตรวจสุขภาพ วัดความดัน ตรวจน้ำตาล เเละกิจกรรมจับไข่เเจกของรางวัลให้กับลูกค้า อินเด็กซ์ลิฟวิ่งมอลล์ สาขาบางนา

17 มีนาคม 2566

นอนไม่หลับ ส่งผลร้ายต่อสุขภาพ

"โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ" ออกหน่วยให้ตรวจสุขภาพ วัดความดัน ตรวจน้ำตาล เเละกิจกรรมจับไข่เเจกของรางวัลให้กับลูกค้า อินเด็กซ์ลิฟวิ่งมอลล์ สาขาบางนา

16 มีนาคม 2566

ขอเชิญทุกท่านร่วมฟังเสวนา เรื่องสุขภาพการนอน

วันนอนหลับโลก อินเด็กซ์ลิฟวิ่งมอลล์ สาขาบางนา ร่วมกับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ขอเชิญทุกท่านร่วมฟังเสวนา เรื่องสุขภาพการนอน เวลา 14.00 - 15.00 น.

16 มีนาคม 2566

ขอเชิญทุกท่านร่วมฟังเสวนา เรื่องสุขภาพการนอน

วันนอนหลับโลก อินเด็กซ์ลิฟวิ่งมอลล์ สาขาบางนา ร่วมกับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ขอเชิญทุกท่านร่วมฟังเสวนา เรื่องสุขภาพการนอน เวลา 14.00 - 15.00 น.

16 มีนาคม 2566

แจกผ้ากันเปื้อน พริ้นซ์เพื่อนชุมชน

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นำโดยคุณ เตชิต ลิ้มเจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ได้ร่วมแจกผ้ากันเปื้อนให้กับพ่อค้าแม่ค้าภายในงาน Amazing ประเวศ@นัมเบอร์วัน มาร์เก็ต

16 มีนาคม 2566

แจกผ้ากันเปื้อน พริ้นซ์เพื่อนชุมชน

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นำโดยคุณ เตชิต ลิ้มเจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ได้ร่วมแจกผ้ากันเปื้อนให้กับพ่อค้าแม่ค้าภายในงาน Amazing ประเวศ@นัมเบอร์วัน มาร์เก็ต