Header

โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน เป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดกับหลอดเลือดเล็ก ๆ ส่วนที่เป็นตัวกรองของเสียในไต และเมื่อเป็นมากก็จะเกิดโรคไตวายเรื้อรังในที่สุด โดยเป็นสาเหตุของโรคไตวายเรื้อรังที่พบได้บ่อยที่สุด พบได้ประมาณร้อยละ 30 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และประมาณร้อยละ 10 – 40 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

การแบ่งระยะของโรคไตเรื้อจากเบาหวาน

โรคไตจากเบาหวานสามารถแบ่งได้เป็น  5 ระยะ ดังนี้

  1. เป็นระยะที่ดูเหมือนไตทำงานได้ดีขึ้น เพราะมีอัตราการกรองของเสียได้ดีขึ้น
  2. เป็นระยะที่ตรวจพบโปรตีนปริมาณน้อยๆ รั่วมาในปัสสาวะเป็นครั้งคราว
  3. เป็นระยะที่ตรวจพบโปรตีนปริมาณน้อยๆ รั้วในปัสสาวะตลอดเวลา
  4. เป็นระยะที่ตรวจพบมีโปรตีนปริมาณมากรั่วในปัสสาวะตลอดเวลา และไตทำงานลดลง
  5. เป็นระยะที่ไตทำงานลดลงมาก จนเป็นโรคไตวายเรื้อรัง
     

การเกิดโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน

เกิดจากการปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงโดยไม่ควบคุม ทำให้เลือดในไตเสื่อม เมื่อเป็นนานเข้าจะทำให้ไตผิดปกติ ดังนั้น การป้องกันโรคไตเรื้อรังจากเบาหวานคือต้องควมคุมน้ำตาลในเลือดให้ดี
 

ตรวจสอบได้อย่างไรว่ามีการเสื่อมของไต

วิธีที่ดีที่สุดที่จะทราบว่ามีการเสื่อมของไตหรือไม่ ทำได้โดยการตรวจเลือดและปัสสาวะเพื่อประเมินการทำงานของไต ทั้งนี้เพราะกว่าโรคจะแสดงอาการ ไตของผู้ป่วยก็มักจะเสียไปมากแล้วซึ่งเมื่อถึงระยะนั้นผู้ป่วยมักมีอาการอ่อนเพลีย ซีด เบื่ออาหาร หรือ อาเจียน และอาจมีอาการบวมตามร่างกาย

อนึ่ง ความผิดปกติที่ตรวจพบในระยะแรก คือ  การตรวจพบโปรตีนจำนวนน้อย (microalbuminuria)โดยจะต้องตรวจพบ 2 ใน 3 ครั้งใน 6 เดือนจึงจะถือว่าผิดปกติ และ เมื่อไตเสื่อมมากขึ้นก็จะตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะด้วยวิธีการตรวจปกติตลอดเวลาร่วมกับการตรวจพบของเสียในเลือดเพิ่มสูงขึ้น

 

       

      

การป้องกันโรคไตจากเบาหวานทำได้อย่างไร

  1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุดโดยดูได้จาก
  • ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารให้อยู่ในช่วง 90-130 มก.%
  • ระดับน้ำตาลเฉลี่ยซึ่งเรียกว่า “เอวันซี” ไม่ควรเกินกว่า 7%
  1. ควบคุมความดันโลหิตไม่ให้เกินกว่า 130/80 มม.ปรอท
  2. การใช้ยาลดความดันโลหิตบางชนิดที่สามารถชะลอไตเสื่อมได้ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางก่อนได้รับยา
  3. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และนักโภชนากร เพื่อช่วยควบคุมเบาหวานและความดันโลหิต ยังช่วยชะลอการเสื่อมของไตในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคไต เช่น การจำกัดอาหารโปรตีน
  4. ตรวจการทำงานของไต โดยการตรวจเลือดและปัสสาวะอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  5. เมื่อมีอาการเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ เช่นปัสสาวะบ่อย แสบขัด ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะเป็นเลือดควรรีบปรึกษาแพทย์
  6. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่อาจมีผลเสียต่อไต ดังนั้นการใช้ยาต่าง ๆ จึงควรปรึกษาแพทย์

โดยสรุป วิธีการที่จะหลีกเลี่ยงการเกิดโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน คือ ดูแลตนเองตามวิธีที่แพทย์พยาบาลแนะนำ รับประทานยาหรือฉีดยาตามที่ได้รับ และมารับการตรวจเป็นประจำตามนัด

 

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

อัลตราซาวด์ คืออะไร?

อัลตราซาวด์  นั้นเป็นคลื่นเสียงชนิดหนึ่ง  ซึ่งมีความถี่สูงกว่า 20,000  Hz  คลื่นเสียงอัลตราซาวด์ นี้ ปัจจุบันได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นเครื่องมือแพทย์  ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ  รวมทั้งการตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อัลตราซาวด์ คืออะไร?

อัลตราซาวด์  นั้นเป็นคลื่นเสียงชนิดหนึ่ง  ซึ่งมีความถี่สูงกว่า 20,000  Hz  คลื่นเสียงอัลตราซาวด์ นี้ ปัจจุบันได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นเครื่องมือแพทย์  ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ  รวมทั้งการตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
คำเตือน ! อย่า ผ่าต้อกระจก ถ้าไม่รู้สิ่งนี้

ต้อกระจก คือ ภาวะเลนส์ตาขุ่น ไม่ใช่กระจกตา โดยภาวะนี้จะทำให้มีอาการหลักคือ มองเห็นภาพไม่ชัด ซึ่งลักษณะการมองเห็นภาพไม่ชัดนั้นมีหลายแบบ แต่ส่วนมากแล้วอาการจะค่อยเป็นค่อยไป หลักเดือนหรือหลักปี

พญ.พรรักษ์ ศรีพล พญ.พรรักษ์ ศรีพล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
คำเตือน ! อย่า ผ่าต้อกระจก ถ้าไม่รู้สิ่งนี้

ต้อกระจก คือ ภาวะเลนส์ตาขุ่น ไม่ใช่กระจกตา โดยภาวะนี้จะทำให้มีอาการหลักคือ มองเห็นภาพไม่ชัด ซึ่งลักษณะการมองเห็นภาพไม่ชัดนั้นมีหลายแบบ แต่ส่วนมากแล้วอาการจะค่อยเป็นค่อยไป หลักเดือนหรือหลักปี

พญ.พรรักษ์ ศรีพล พญ.พรรักษ์ ศรีพล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Checklist โรคแพนิค

หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ออก รู้สึกเหมือนขาดอากาศ หวาดกลัวอย่างรุนแรงจนร่างกายขยับไม่ได้ เวียนศีรษะหรือรู้สึกคลื่นไส้ เหงื่อออกและมือเท้าสั่น

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Checklist โรคแพนิค

หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ออก รู้สึกเหมือนขาดอากาศ หวาดกลัวอย่างรุนแรงจนร่างกายขยับไม่ได้ เวียนศีรษะหรือรู้สึกคลื่นไส้ เหงื่อออกและมือเท้าสั่น

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม