หนาวทีไร ? "ภูมิแพ้" จัดเต็มคาราเบล

ฮัดเช้ย ฮัดเช้ย ฮัดเช้ย…ลมหนาวมาที่ไร ? ภูมิแพ้เล่นงานทุกที แบบจัดเต็มคาราเบล!
เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย สำหรับคนเป็นภูมิแพ้คงจะกังวลอยู่ไม่น้อย ย่างเข้าหน้าหนาวทีไร อากาศเปลี่ยนแปลงไวตลอดเวลา แบบนี้(สายภูมิแพ้) ดูแลร่างอย่างไรดี ! บทความนี้เรามาช่วย “คนขี้แพ้” กันะคะ
“ภูมิแพ้” (Allergy)
โรคภูมิแพ้ คือ ปฏิกิริยาที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่ง เพื่อตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ โรคภูมิแพ้ไม่ได้เป็นทุกคน แต่จะมีความแตกต่างกันตามปัจจัยทางพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม
อาการ ของ โรคภูมิแพ้ แบ่งออกเป็น 4 ระบบ ดังนี้
1.ระบบทางเดินหายใจส่วนบน คือ โรคภูมิแพ้จมูกอักเสบ คนไข้จะมีอาการของน้ำมูกใส ๆ คัดจมูก คันจมูก และมีอาการจามเป็นชุดต่อเนื่อง
2.ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง คือ โรคหืด คนไข้จะมีอาการไข้ หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก หายใจได้ยินเสียงวี๊ด อาการจะเป็นมากขึ้นในตอนตื่นเช้า หรือก่อนนอน และหากยิ่งตอนอากาศเปลี่ยน เช่น อากาศเย็นขึ้น มีความชื้นในอากาศมากขึ้น อากาศแพ้อาจจะกำเริบขึ้นมาได้
3.โรคภูมิแพ้ทางตา คือ คนไข้จะมีอาการคันตา ตาแดง เคืองตา น้ำตาไหล ระคายเคืองตามาก ๆ
4.โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง คือ คนไข้จะมีอาการของผิวแห้ง ผิวคัน ผื่นขึ้นเป็น ๆ หาย ๆ บางรายอาจจะมีลมพิษร่วม
ปัจจัยหลัก ที่เป็นสาเหตุของ โรคภูมิแพ้
- พันธุกรรม พบว่าโอกาสเสี่ยงอยู่ที่ 12% ถ้าไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นภูมิแพ้ แต่ถ้ามารดาหรือบิดาคนใดคนหนึ่งเป็น โอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคภูมิแพ้ก็จะมีมากขึ้นไปด้วยประมาณ 30 – 50% ถ้ามารดาและบิดาเป็นทั้งคู่โอกาสเสี่ยงจะอยู่ที่ประมาณ 60 – 80%
ดังนั้นหากสังเกตตนเองว่า เข้าข่ายผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ อาจจะลองเข้ามาปรึกษาคุณหมอเฉพาะทางด้านภูมิแพ้ เพื่อการดูแลตัวเองที่ถูกต้อง และป้องกันอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ
- สิ่งแวดล้อม พบว่าเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ตัวอย่างเช่น ไรฝุ่น ละอองเกสรหญ้า แมลงสาบ รวมไปถึง เชื้อราที่อยู่ในบ้าน นอกบ้าน และขนสัตว์ เช่น ขนแมว และขนสุนัข
ผู้ป่วยภูมิแพ้ ดูแลตัวเอง ?
- หากรู้ตัวว่าแพ้อะไร! ให้หลีกเลี่ยงจากสารก่อภูมิแพ้ เพื่อป้องกันอาการแพ้ในลักษณะต่างๆ
- หากคุณหมอให้รับประทานยาต่อเนื่อง คนไข้อย่าหยุดยาเอง เพื่อป้องกันการกำเริบของโรคภูมิแพ้

การวินิจฉัย และ การรักษา โรคภูมิแพ้ ได้แก่
- การทดสอบทางผิวหนัง โดยการใช้น้ำยา ที่สกัดออกจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ
- การเจาะเลือด เพื่อดูภูมิคุ้มกันในร่างกาย ที่สร้างขึ้นมาต่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศนั้น ๆ
วิธีการรักษา โรคภูมิแพ้
- หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ หรือ ตรวจวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ เพื่อการหลีกเลี่ยงและป้องกันตัวเอง
- วิธีการรักษาโดยการใช้ยา การใช้ยาตัวไหน ขึ้นอยู่ว่าอาการของคนไข้เป็นแบบไหน และความรุนแรงของภูมิแพ้ โดยคุณหมอเฉพาะทางจะช่วยประเมินและวินิจฉัยให้
- การใช้วิธีการรักษาภูมิแพ้ จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยใช้ยามาตรฐานแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น ไม่ตอบสนอง วิธีการใช้จะมี 2 วิธี คือ
– การฉีดวัคซีนเข้าใต้ผิวหนัง
– การใช้ยาอมใต้ลิ้น
- การรักษาโรคร่วมหรือภาวะแทรกซ้อน เช่น ไซนัสอักเสบ ซึ่งจะทำให้อาการภูมิแพ้ที่เป็นร่วมกัน มีอาการค่อนข้างหนัก
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่ใกล้ตัว ที่ไม่ครรถูกมองข้าม ถ้าเมื่อไรก็ตามที่เราสามารถวินิจฉัยได้ตรงจุด ถูกต้อง และได้รับการรักษาที่เหมาะสม คุณภาพชีวิตของคนไข้ที่เป็นโรคภูมิแพ้จะดีขึ้น และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขทั้งในการทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวัน