Header

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว

blank บทความโดย : คลินิกโรคหัวใจ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

Holter Monitoring เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่มีขนาดเท่ากับกล้องถ่ายรูป ใช้สำหรับบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 – 48 ชั่วโมง โดยที่อุปกรณ์ประกอบด้วยกล่องที่มีขนาดเล็กสำหรับบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยที่เครื่องนี้จะเชื่อมต่อกับสายที่ยึดติดกับแผ่น Electrode ที่ติดบริเวณผิวหนัง

ชนิดของการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัวมี 2 ชนิด ได้แก่

  • Holter Monitoring เป็นการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบตลอดเวลา ในช่วงระยะเวลา 24 – 48 ชั่วโมง ไม่ว่าคุณจะเดินทางไปยังแห่งหนไหนก็ตาม  เป็นการตรวจที่ใช้บ่อยในเวชปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยที่มาด้วยอาการใจสั่นหรือเป็นลม
  • Event Recording เป็นการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจในขณะที่คุณมีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น หน้ามืด

 

Holter Monitoring คืออะไร

Holter Monitoring เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่มีขนาดเท่ากับกล้องถ่ายรูป ใช้สำหรับบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 – 48 ชั่วโมง โดยที่อุปกรณ์ประกอบด้วยกล่องที่มีขนาดเล็กสำหรับบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยที่เครื่องนี้จะเชื่อมต่อกับสายที่ยึดติดกับแผ่น Electrode ที่ติดบริเวณผิวหนัง

Holter Monitoring ใช้สำหรับทำอะไรและเพื่อประโยชน์อะไร

  • ใช้สำหรับประเมินอัตราการเต้นเฉลี่ยของชีพจรและการตอบสนองของการเต้นของชีพจรในขณะที่คุณกำลังทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • ใช้สำหรับประเมินคลื่นไฟฟ้าหัวใจในผู้ป่วยที่มีอาการใจสั่น (Palpitation) หรือความรู้สึกว่าหัวใจหยุดเต้นชั่วขณะ (Skipping)
  • ใช้สำหรับประเมินผู้ป่วยที่มาด้วยอาการหน้ามืดหรือเป็นลม เพื่อวินิจฉัยแยกโรคว่ามีสาเหตุจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่
  • ใช้สำหรับประเมินประสิทธิภาพหลังการรักษาทั้งจากการรักษาด้วยยาหรือการรักษาด้วยการทำหัตถการ

 

ความเสี่ยงของการทำ Holter Monitoring คืออะไร

การตรวจ Holter Monitoring แทบไม่มีความเสี่ยงที่เป็นอันตรายเลย การตรวจนี้ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด แต่อาจมีผู้ป่วยบางรายมีอาการระคายเคืองบริเวณที่ติดเทปกาว ซึ่งถ้าผู้ป่วยรายใดเคยมีประวัติแพ้เทปกาวควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนทำการตรวจ
 

ขั้นตอนการทำ Holter Monitoring เป็นอย่างไร

เจ้าหน้าที่จะทำการติดแผ่นอิเลกโทรด (Electrode) ที่บริเวณหน้าอกของท่าน หากท่านใดที่มีขนบริเวณหน้าอกค่อนข้างมากอาจจะต้องขออนุญาตทำการโกนขนบริเวณหน้าอกออกบางส่วน เพื่อทำให้ติดแผ่น Electrode ให้แนบกับผิวหนังหน้าอกได้ดียิ่งขึ้นและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

  • หลังจากติดแผ่น Electrode เป็นที่เรียบร้อย ก็จะทำการติดเครื่อง Holter Monitor และเจ้าหน้าที่จะทำการแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวและการดูเเลรักษาเครื่องในระหว่างที่ทำการตรวจ
  • คุณสามารถใส่กล่อง Holter ไว้ในกระเป๋ากางเกงหรือกระเป๋าเสื้อ  นอกจากนี้คุณอาจจะแขวนไว้ที่ไหล่หรือบริเวณคอคล้ายกับว่าคุณกำลังสะพายกล้องอยู่
  • ระหว่างที่ติด Holter คุณสามารถทำกิจวัตรได้เกือบเป็นปกติทุกอย่าง ยกเว้นข้อห้ามบางอย่างดังนี้​​
    • ​​ห้ามอาบน้ำหรือว่ายน้ำในขณะที่คุณยังติดเครื่อง Holter อยู่
    • ห้ามทำ X-Ray ในขณะที่คุณยังติดเครื่อง Holter อยู่
    • หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณที่มีสายไฟแรงสูง หรือบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือบริเวณที่มีเครื่องตรวจจับโลหะ

เจ้าหน้าที่จะให้สมุดบันทึกสำหรับบันทึกกิจกรรม รวมถึงอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย ใจสั่น หน้ามืด ท่านจะต้องทำการบันทึกระยะเวลาที่มีอาการตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อเปรียบเทียบกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะที่มีอาการ

 

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยในประชาชนทั่วไป โดยปกติมักไม่แสดงอาการ หากมีอาการผู้ป่วยมักมีอาการคล้ายอาการของโรคกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยส่วนมากจะซื้อยามารับประทานเองทำให้นิ่วในถุงน้ำดีอาจมีอาการรุนแรงขึ้นได้

โรคนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยในประชาชนทั่วไป โดยปกติมักไม่แสดงอาการ หากมีอาการผู้ป่วยมักมีอาการคล้ายอาการของโรคกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยส่วนมากจะซื้อยามารับประทานเองทำให้นิ่วในถุงน้ำดีอาจมีอาการรุนแรงขึ้นได้

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed tomography, CT Scan)

เป็นการตรวจเอกซเรย์ ที่ให้รายละเอียด และความแม่นยำสูงกว่าภาพเอกซเรย์ทั่วไป โดยสามารถสร้างภาพตามแนวตัด และแนวขวาง 3 มิติ ของอวัยวะที่ต้องการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed tomography, CT Scan)

เป็นการตรวจเอกซเรย์ ที่ให้รายละเอียด และความแม่นยำสูงกว่าภาพเอกซเรย์ทั่วไป โดยสามารถสร้างภาพตามแนวตัด และแนวขวาง 3 มิติ ของอวัยวะที่ต้องการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์

ช็อกโกแลตซีสต์ โรคที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน

ช็อกโกแลตซีสต์ หรือ ถุงน้ำช็อกโกแลต ที่ในทางการแพทย์เรียกว่า เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ สาเหตุส่วนใหญ่ของช็อกโกแลตซีสต์ เกิดจากประจำเดือนส่วนหนึ่งไหลย้อนไปทางปีกมดลูก แล้วเข้าไปฝังตัวที่อื่นๆ

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ช็อกโกแลตซีสต์ โรคที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน

ช็อกโกแลตซีสต์ หรือ ถุงน้ำช็อกโกแลต ที่ในทางการแพทย์เรียกว่า เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ สาเหตุส่วนใหญ่ของช็อกโกแลตซีสต์ เกิดจากประจำเดือนส่วนหนึ่งไหลย้อนไปทางปีกมดลูก แล้วเข้าไปฝังตัวที่อื่นๆ

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม