มะเร็งเต้านม โดยคลินิกโรคมะเร็ง

มะเร็งร้ายหมายเลขหนึ่งของหญิงไทย มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงไทย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ชายก็มีสิทธิ์เป็นมะเร็งเต้านมได้ 1 ใน 100 ของผู้ป่วย มะเร็งเต้านมทั้งหมด
มีผู้หญิงไทยเป็นมะเร็งเต้านม รายใหม่ วันละ 47 คน หรือ 17,043 คน/ปี
Cancer in Thailand VOI.X 2016-2018 สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข
มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เสียชีวิต วันละ 13 คน หรือ 4,654 คน/ปี
สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2562 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ
- อายุที่มากขึ้น
- เคยเป็นมะเร็งเต้านมหรือเนื้องอกที่เต้านม
- มีประวัติญาติสายตรง (แม่ พี่ น้อง) เป็นมะเร็งเต้านม
- มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี หรือหมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี
- ภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
7 สัญญาณมะเร็งเต้านม
- มีก้อนที่เต้านมหรือรักแร้
- รูปร่างหรือขนาดของเต้านมที่ เปลี่ยนแปลงไป
- มีน้ำผิดปกติไหลออกมาจากหัวนม
- หัวนมบอดหรือมีแผลเรื้อรังที่หัวนม
- มีรอยบุ๋ม รอยย่น ผื่นคัน บริเวณ ลานหัวนม
- มีอาการเจ็บผิดปกติที่เต้านม หรือ รักแร้
- ผิวหนังของเต้านมมีรอยบุ๋ม รอยย่น ผิวหนังบวมหนาคล้ายผิวเปลือกส้ม
มะเร็งเต้านมสามารถตรวจพบในระยะเริ่มแรกได้โดย
- ตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างน้อยเดือนละครั้ง
- ตรวจโดยบุคลากร ทางการแพทย์
- ตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านม หรือ แมมโมแกรม เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่อายุ 40 ปี ขึ้นไป
ผลการรักษามะเร็งเต้านมระยะแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้สูงถึง 95 %
การตรวจคัดกรองเป็นการตรวจเบื้องต้นเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในคนกลุ่มเสี่ยงเท่านั้น หากเราต้องการดูแลสุขภาพของตัวเอง ให้แข็งแรงและมั่นใจ ควรเลือกตรวจสุขภาพเป็นประจำในทุกปี เพื่อเป็นการดูแลตัวเอง ให้รู้ถึงปัญหาสุขภาพ และสามารถรักษาได้ทัน