Header

มะเร็งเต้านม

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ผู้หญิงนั้นมีความน่ากังวลเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงโรคภัยต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือโรคมะเร็ง ซึ่งโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้หญิงเป็นอันดับหนึ่งเลย ยังไงก็หนีไม่พ้น “มะเร็งเต้านม” นั่นเอง

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม

  • ผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี
  • ผู้หญิงที่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี
  • ผู้หญิงที่ประจำเดือนหมดหลังอายุ 55 ปี
  • ผู้หญิงที่ไม่เคยตั้งครรภ์
  • ผู้หญิงที่มีบุตรคนแรกตอนอายุมาก
  • ผู้หญิงที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
  • ผู้ที่ใช้ฮอร์โมนเสริมหลังหลังวัยหมดประจำเดือนเป็นเวลานาน
  • กรรมพันธุ์ครอบครัว โดยเฉพาะผู้ที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม
  • น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
  • ดื่มแอลกอฮอลล์
  • สูบบุหรี่
  • ขาดการออกกำลังกาย

“มะเร็งเต้านม” ขึ้นชื่อว่าเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตผู้หญิงเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยสถิตินี้ ผู้หญิงเราจึงควรตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอเพื่อหาความผิดปกติตั้งแต่แรกเริ่ม หรือหากพบสิ่งผิดปกติ ก็จะได้สามารถทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที ป้องกันการเกิดมะเร็งระยะลุกลาม โดยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

 

1. วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

ท่าทางการตรวจ

  • ท่านอนราบ : นอนราบในท่าสบาย ใช้ผ้าขนหนูม้วนหรือใช้หมอนรองที่บริเวณหลังและไหล่ข้างที่จะตรวจ ยกแขนข้างที่จะตรวจขึ้นเหนือศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างคลำให้ทั่วบริเวณเต้านมและรักแร้
  • ท่ายืนหน้ากระจก
    • ปล่อยแขนไว้ข้างลำตัวตามสบาย สังเกตเปรียบเทียบเต้านมทั้ง 2 ข้าง
    • ยกแขนขึ้น 2 ข้างประสานกันเหนือศีระษะ สังเกตรอยดึงรั้ง หรือรอยบุ๋ม
    • มือท้าวเอวแล้วโน้มตัวไปข้างหน้า

ทิศทางการคลำ

  • คลำแบบก้นหอยหรือแบบตามเข็มนาฬิกา : คลำจากบริเวณหัวนม วนออกตามเข็มนาฬิกา ไปจนถึงบริเวณรักแร้
  • คลำแบบแนวนอนขึ้นลงขนานกับลำตัว : คลำโดยใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง คลำสลับขึ้นลงไปมาทีละแถว ให้ทั่วทั้งเต้านม
  • คลำแบบรัศมีรอบเต้านมหรือคลำแนวคลื่น : เริ่มคลำจากส่วนบนของเต้านมเข้าหาฐานหัวนม และทำซ้ำเป็นรัศมีรอบเต้านม
  • ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจ คือ 7 วันก่อนและหลังมีประจำเดือน
  • อาการผิดปกติ
    • มีน้ำเหลืองหรือมีเลือดไหลออกมา
    • คลำได้ก้อนเป็นไตแข็งผิดปกติ

 

2. การอัลตราซาวด์เต้านม (Breast Ultrasound)

การตรวจอัลตราซาวด์เป็นการใช้คลื่นความถี่สูงในการตรวจหาความผิดปกติของเต้านม ซึ่งจะตรวจจับความแตกต่างของเนื้อเยื่อ ทำให้สามารถแยกเนื้อเยื่อเต้านมปกติกับก้อนในเต้านมได้ เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถกำหนดแผนการรักษาให้ง่ายขึ้น

จุดเด่นของการตรวจเต้านมด้วยการอัลตราซาวด์

  • สามารถบอกได้ว่าก้อนที่พบในเนื้อเต้านมนั้นมีองค์ประกอบเป็นน้ำหรือเป็นก้อนเนื้อ
  • หากตรวจพบว่ามีก้อนเนื้อ สามารถบอกได้ว่าก้อนเนื้อนั้นมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่
  • เหมาะสำหรับคนอายุน้อย
  • กรณีที่มีการเสริมหน้าอกมา หากแผลหายแล้วก็สามารถทำการอัลตร้าซาวด์ได้ตามปกติ

ข้อจำกัดของการตรวจเต้านมด้วยการอัลตราซาวด์

  • ประสิทธิภาพในการตรวจหาหินปูนด้วยวิธีการอัลตร้าซาวด์จะไม่ดีเท่าการตรวจเมมโมแกร

 

3. การตรวจเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลเมมโมแกรม (Digital Mammogram)

การตรวจเมมโมแกรมเป็นการตรวจทางรังสีชนิดพิเศษคล้ายกับการตรวจเอ็กซเรย์ แต่ใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าการเอ็กซเรย์ทั่วไป 30 – 60% มีความสามารถในการตรวจที่ละเอียดกว่ามาก

จุดเด่นของการตรวจเต้านมด้วยการตรวจเมมโมแกรม

  • สามารถตรวจหาเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ รวมถึงหินปูนตั้งแต่ขนาด 0.1 – 1 ซม. ที่คลำหรืออัลตราซาวด์แล้วไม่พบได้อย่างละเอียดชัดเจน ทำให้สามารถค้นพบมะเร็งระยะเริ่มแรกได้อย่างรวดเร็ว
  • เหมาะสำหรับผู้ที่มีเนื้อเยื่อเต้านมที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งอาจดูกลมกลืนกับเนื้อร้าย ทำให้ยิ่งค้นพบได้รวดเร็ว อีกทั้งยังปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อเต้านม
  • สามารถปรับความคมชัดของฟิล์มได้โดยที่ไม่ต้องถ่ายซ้ำใหม่ ทำให้สามารถลดอัตราการกลับมาทำและรับรังสีซ้ำ
  • กรณีที่มีการเสริมหน้าอกมา ควรแจ้งแพทย์และเจ้าหน้าที่ทุกครั้งเพื่อการตรวจที่เหมาะสม

ถึงแม้ว่าการตรวจแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ จะมีข้อดีกันคนละอย่าง การตรวจแบบใดแบบหนึ่งอาจได้ประโยชน์มากกว่าในบางด้าน อย่างไรก็ตามการตรวจทั้งสองแบบจะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรคให้ดียิ่งขึ้น

 

 

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคจอประสาทตาเสื่อม

การตรวจคัดกรองดวงตาไม่เพียงช่วยให้ค้นพบความผิดปกติของดวงตาในระยะเริ่มแรก แต่ยังช่วยให้ค้นพบโรคเกี่ยวกับดวงตาในขณะที่ยังไม่แสดงอาการ โดยเฉพาะในผู้สูงวัยที่ต้องพบกับโรคจอประสาทตาเสื่อม

blank บทความโดย : คลินิกจักษุ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคจอประสาทตาเสื่อม

การตรวจคัดกรองดวงตาไม่เพียงช่วยให้ค้นพบความผิดปกติของดวงตาในระยะเริ่มแรก แต่ยังช่วยให้ค้นพบโรคเกี่ยวกับดวงตาในขณะที่ยังไม่แสดงอาการ โดยเฉพาะในผู้สูงวัยที่ต้องพบกับโรคจอประสาทตาเสื่อม

blank บทความโดย : คลินิกจักษุ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคไทรอยด์เป็นพิษ

ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายและมีความสำคัญอย่างมาก โดยมีหน้าที่หลักคือหลั่งฮอร์โมนซึ่งสำคัญกับการทำงานของร่างกาย

blank บทความโดย : คลินิกโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคไทรอยด์เป็นพิษ

ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายและมีความสำคัญอย่างมาก โดยมีหน้าที่หลักคือหลั่งฮอร์โมนซึ่งสำคัญกับการทำงานของร่างกาย

blank บทความโดย : คลินิกโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ปวดหู เกิดจากอะไร ?

ปวดหู (Earache/Ear Pain) เป็นอาการปวดบริเวณหูข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน อาจปวดในลักษณะตื้อ ๆ เจ็บแปลบ หรือรู้สึกแสบร้อน

blank บทความโดย : คลินิกโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ปวดหู เกิดจากอะไร ?

ปวดหู (Earache/Ear Pain) เป็นอาการปวดบริเวณหูข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน อาจปวดในลักษณะตื้อ ๆ เจ็บแปลบ หรือรู้สึกแสบร้อน

blank บทความโดย : คลินิกโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม