Header

มะเร็งตับ (Liver Cancer)

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

มะเร็งตับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต และเจ็บป่วยเรื้อรังจนเป็นสาเหตุการตายก่อนวัยอันสมควร เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์เมื่อมะเร็งอยู่ในระยะท้ายของโรค

 

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ

  1. การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซีเรื้อรัง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญต่อการเกิดมะเร็งตับในประเทศไทย
  2. ตับแข็งจากสาเหตุต่างๆ ที่พบบ่อยคือการดื่มแอลกอฮอล์

 

มะเร็งตับแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆคือ

  1. ชนิดปฐมภูมิ : มะเร็งของเซลล์ตับ(hepatocellular carcinoma :HCC)และมะเร็งท่อน้ำดี
  2. ชนิดทุติยภูมิ : เป็นมะเร็งที่กระจายมาจากตำแหน่งอื่นๆของร่างกาย โดยมากจะมาจากอวัยวะภายในช่องท้อง เช่น ลำไส้ใหญ่

ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะมะเร็งตับชนิด hepatocellular carcinoma :HCC เนื่องจากเป็นโรคที่มีความสำคัญและพบบ่อย

 

อาการของมะเร็งตับ จะแบ่งเป็น 4 ระยะ

ระยะที่1 (Early) และ ระยะที่ 2(Intermediate) บางครั้งจะไม่แสดงอาการใดๆหรือแสดงอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ปวดท้อง ท้องอืดบ้าง ทำให้ผู้ป่วยสับสนคิดว่าเป็นโรคกระเพาะอาหาร

ระยะที่ 3(Advanced) และระยะที่ 4 (Terminal) อาการของตับมีปัญหา เช่น อาการตัวเหลือง ตาเหลือง มีภาวะท้องมานน้ำ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน

 

การตรวจวินิจฉัย

ดังกล่าวไว้แล้วข้างต้นว่าผู้ป่วยมะเร็งตับมักมาพบแพทย์เมื่ออยู่ในระยะท้ายของโรคเนื่องจากมะเร็งตับระยะที่1และ2 จะไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการเพียงเล็กน้อย ซึ่งการตรวจพบมะเร็งตับในระยะเริ่มต้นจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมและมีโอกาสหายขาด ดังนั้นการตรวจคัดกรองเพื่อเฝ้าระวังในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงจึงมีประโยชน์อย่างยิ่ง วิธีการตรวจเพื่อเฝ้าระวังหรือวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ ได้แก่

  1. การตรวจอัลตราซาวด์ของช่องท้องส่วนบน
  2. การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์(computed tomography)
  3. การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging)
  4. การเจาะเลือดตรวจวัดระดับAlfa-fetoprotein:AFP ซึ่งการวินิจฉัยมะเร็งตับไม่สามารถใช้การตรวจระดับAFPเพียงอย่างเดียว เนื่องจากการตรวจพบระดับAFPที่สูงผิดปกติอาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ภาวะตับอักเสบ
  5. การเจาะชิ้นเนื้อตับเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา

 

การรักษา

การรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ขนาดของก้อนมะเร็งในตับ

ระยะของโรค พยาธิสภาพของตับแข็งและสุขภาพของผู้ป่วย

การรักษามะเร็งตับสามารถรักษาโดย

  1. การผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งตับออก (Hepatic resection)
  2. การผ่าตัดเปลี่ยนตับ(Liver transplantation)
  3. Transarterial Chemoembolization:TACE คือ การฉีดยาเคมีบำบัดร่วมกับสารlipiodolผ่านเส้นเลือดแดงแขนงที่เลี้ยงก้อนมะเร็ง
  4. การรักษาทางยา
    -ยาต้านมะเร็งกลุ่ม target agent ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตและการสร้างหลอดเลือดเข้าไปเลี้ยงมะเร็งตับ
    -ยาเคมีบำบัด

    -ยาต้านไวรัสตับอักเสบ สำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซีเรื้อรังและภายหลังการรักษาขจัดก้อนมะเร็งได้หมดแล้ว เพื่อป้องกันมะเร็งตับเกิดขึ้นใหม่
  5. รังสีรักษา

มะเร็งตับหากเป็นแล้ว รักษาได้และมีโอกาสหายขาด เพียงแต่ว่าต้องมีการค้นหามะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและมีการตรวจอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงและอายุ 40-45ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีไวรัสตับอักเสบบีหรือซีในร่างกาย ควรตรวจคัดกรองเฝ้าระวังมะเร็งตับทุก 6-12เดือน

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะ Long COVID เจ็บ…แต่ไม่จบ ? อาการที่ตามมาจากการติดเชื้อโควิด-19

เป็นโควิด-19 รักษาหายแล้ว แต่ทำไมยังป่วยอยู่ หลายคนมีข้อสงสัย เนื่องจากผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาหายแล้วบางราย ยังรู้สึกมีอาการหลงเหลือต่อเนื่องเป็นเวลานาน

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ภาวะ Long COVID เจ็บ…แต่ไม่จบ ? อาการที่ตามมาจากการติดเชื้อโควิด-19

เป็นโควิด-19 รักษาหายแล้ว แต่ทำไมยังป่วยอยู่ หลายคนมีข้อสงสัย เนื่องจากผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาหายแล้วบางราย ยังรู้สึกมีอาการหลงเหลือต่อเนื่องเป็นเวลานาน

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อาหารกับการควบคุมเบาหวาน

โภชนาการที่ดีเป็นหนึ่งในหัวใจของการควบคุมเบาหวาน ถึงแม้จะได้รับยาเบาหวานหรืออินชูลินก็ยังจำเป็นต้องควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกายด้วย

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อาหารกับการควบคุมเบาหวาน

โภชนาการที่ดีเป็นหนึ่งในหัวใจของการควบคุมเบาหวาน ถึงแม้จะได้รับยาเบาหวานหรืออินชูลินก็ยังจำเป็นต้องควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกายด้วย

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การแน่นหน้าอก เป็นหนึ่งอาการที่บ่งชี้ถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ

โดยปกติแล้ว การแน่นหน้าอกเป็นหนึ่งอาการที่บ่งชี้ถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่โรคหัวใจก็มีหลายชนิด แถมมีวิธีคัดกรองหลากหลายวิธี เช่น การให้ออกกำลังกายด้วยการวิ่งสายพาน การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การฉีดสี เป็นต้น อย่างไรก็ตามแต่ละวิธีก็มีข้อจำกัด และมีความแม่นยำที่แตกต่างกัน

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การแน่นหน้าอก เป็นหนึ่งอาการที่บ่งชี้ถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ

โดยปกติแล้ว การแน่นหน้าอกเป็นหนึ่งอาการที่บ่งชี้ถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่โรคหัวใจก็มีหลายชนิด แถมมีวิธีคัดกรองหลากหลายวิธี เช่น การให้ออกกำลังกายด้วยการวิ่งสายพาน การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การฉีดสี เป็นต้น อย่างไรก็ตามแต่ละวิธีก็มีข้อจำกัด และมีความแม่นยำที่แตกต่างกัน

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม