Header

คำแนะนำการดูแลเมื่อลูกเจ็บป่วย

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

1.เมื่อลูก มีไข้ เมื่อเกิดการอักเสบติดเชื้อที่ใดก็ตามในร่างกาย ร่างกายของคนเราจะเกิดมีไข้ขึ้นมาถ้าภาวะการอักเสบหรือติดเชื้อยังอยู่ในร่างกายไข้ก็ยังคงมีอยู่อาจเป็นไข้ขึ้นๆลงๆหรือไข้สูงลอยก็แล้วแต่ลักษณะของโรคนั้นเพราะพ่อแม่มักจะถามว่าทำไมกินยาลดไข้แล้วไข้ยังขึ้นอีกก็ขอตอบว่าก็สาเหตุของไข้ยังอยู่ในร่างกาย ดังนั้นการกินยาลดไข้คือการรักษาปลายเหตุแต่ก็เป็นเรื่องสำคัญเพราะถ้าไข้สูงมากอาจทำให้ลูกชักได้

การดูแลลูกเมื่อมีไข้ ให้ยาลดไข้ พาราเซตามอลจะปลอดภัยที่สุด(ห้ามใช้ยา แอสไพรินเพราะถ้าเด็กเป็นโรคไข้หวัดใหญ่หรือโรคอีสุกอีใส อาจทำให้เกิดกลุ่มโรคไรด์ เกิดตับวาย และมีผลต่อสมองทำให้เสียชีวิตได้ ) ระหว่างรอยาลดไข้ออกฤทธิ์ให้ใช้น้ำก๊อกเช็ดตัวให้ลูกด้วย ยาออกฤทธิ์นาน 4-6 ชม. ช่วง1-2วันแรกไข้มักจะสูงควรตั้งนาฬิกาปลุกไว้ด้วยเพราะลูกอาจไข้ขึ้นตอนผู้ดูแลนอนหลับและควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของไข้ ถ้าเป็นไข้จากการติดเชื้อหลังจากได้รับยาฆ่าเชื้อใช้เวลา3-4 วันกว่าไข้จะลงดี แต่ถ้ารักษาเกิน3-4วันไข้ยังสูงอยู่ตลอดควรพบแพทย์เพื่อพิจารณาตรวจเลือดและปัสสาวะ
 

 

2.เมื่อลูก อาเจียน อาการอาเจียนอาจเกิดร่วมกับโรคอุจจาระร่วง หรือเกิดร่วมกับการติดเชื้อที่คอและหลอดลมเด็กจะไอพร้อมกับอาเจียน นอกจากนั้นยังพบร่วมกับโรคไส้ติ่งอักเสบร่วมด้วย เมื่อลูกอาเจียนควรให้น้ำเกลือแร่ทดแทนตามปริมาณที่อาเจียนกินทีละน้อย ใช้ยาแก้อาเจียนชื่อ MOTILIUM SYRUP กินได้ทุก 8ชั่วโมง และควรพามาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ

3.เมื่อลูก ท้องเสีย ที่บ้านควรมีน้ำเกลือแร่ติดบ้านไว้เสมอ เด็กท้องเสียอันตรายที่สุดคีอสูญเสียน้ำมากและทดแทนให้ไม่ทัน ดังนั้นควรให้ลูกกินน้ำเกลือแร่โดยใช้ช้อนค่อยๆป้อน ใช้น้ำข้าวใส่เกลือเล็กน้อยทดแทนน้ำเกลือแร่ได้ ถ้าลูกยังท้อง เสียมาก อ่อนเพลีย กินได้น้อยควรรีบพบแพทย์เพื่อให้สารน้ำทดแทน

 

 

 

4.เมื่อลูก ปวดท้อง สาเหตุอาจเนื่องจาก โรคกระเพาะอาหารอักเสบ ท้องเสีย ไส้ติ่งอักเสบ(มักมีไข้ อาเจียนร่วมด้วย) การดูแลเบื้องต้นอาจให้กินยาเคลือบกระเพาะถ้าไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์

5.เมื่อลูก ชัก ควรระวังภาวะอันตรายถ้าลูกล้มศรีษะกระแทกพื้น ห้ามเอานิ้วใส่ปากเพราะเด็กจะกัดเป็นอันตรายได้ ให้จับหน้าตะแคงเพื่อไม่ให้สำลักสิ่งของที่อยู่ในปาก ถ้ามีไข้ให้เช็ดตัวให้ลูก ถ้าลูกเริ่มรู้ตัวอาจให้ยาลดไข้ และยากันชักถ้าเคยเป็นมาก่อน ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ

 

 

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาได้ที่ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง

เบอร์โทรศัพท์ (+66)02 0805999

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

ศูนย์การแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แผนกเด็ก 24 ชั่วโมง

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4401

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ออฟฟิศซินโดรม ศัตรูตัวร้ายขัดขวางความสุขในการทำงาน

ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) รวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น (Tendinitis) อาการปวด ชา จากปลายประสาทที่ถูกกดทับ ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบได้บ่อยในผู้ที่นั่งทำงานในออฟฟิศ โดยมีสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเกิดกลุ่มอาการดังกล่าว

ออฟฟิศซินโดรม ศัตรูตัวร้ายขัดขวางความสุขในการทำงาน

ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) รวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น (Tendinitis) อาการปวด ชา จากปลายประสาทที่ถูกกดทับ ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบได้บ่อยในผู้ที่นั่งทำงานในออฟฟิศ โดยมีสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเกิดกลุ่มอาการดังกล่าว

ค่าตัวเลขความดันโลหิตคืออะไร ?

ค่าความดันคืออะไร วัดไปทำไม แล้วความดันโลหิตต่ำ-สูงอันตรายแค่ไหน

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ค่าตัวเลขความดันโลหิตคืออะไร ?

ค่าความดันคืออะไร วัดไปทำไม แล้วความดันโลหิตต่ำ-สูงอันตรายแค่ไหน

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เข้าใจและรับมือกับ ‘โรคซึมเศร้า’

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่าโรคซึมเศร้าเป็นเพียงอาการ หรือสภาพจิตใจที่เปลี่ยนไปเพียงชั่วครู่ หลังจากเกิดความผิดหวัง หรือได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจ และสามารถรักษาได้ด้วยการให้กำลังใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคซึมเศร้ารุนแรงกว่านั้นมาก

blank บทความโดย : คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เข้าใจและรับมือกับ ‘โรคซึมเศร้า’

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่าโรคซึมเศร้าเป็นเพียงอาการ หรือสภาพจิตใจที่เปลี่ยนไปเพียงชั่วครู่ หลังจากเกิดความผิดหวัง หรือได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจ และสามารถรักษาได้ด้วยการให้กำลังใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคซึมเศร้ารุนแรงกว่านั้นมาก

blank บทความโดย : คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม