Header

อันตรายจากเสียงดัง ส่งผลร้ายถึงขั้นพิการ ไม่มีทางรักษาให้หายได้

blank คลินิกโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

อันตรายจากเสียงดัง-โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

มลพิษทางเสียง

คือ การที่เราได้ยินเสียงที่ดังเกินไป และระดับความดังมากกว่าที่หูของเราจะรับไหว เสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อประสาทหูนั่นเอง ซึ่งปกติแล้วมลพิษทางเสียงนั้นจะเกิดกับคนที่ทำงานอยู่ในโรงงาน หรือใกล้เครื่องจักรอุตสาหกรรมเสียเป็นส่วนใหญ่ เพราะต้องทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังมาก อย่างเช่น โรงงานทอผ้า โรงงานปั๊มโลหะ หรือผู้ที่อาศัยอยู่ในย่านจราจรคับคั่ง โดยเฉพาะคนที่อยู่ใกล้สนามบินมากๆ 

ความดังของเสียงที่ดังและนานเกินไป จะเข้าไปทำให้อวัยวะรับเสียง โดยเฉพาะเซลล์ขนและประสาทรับเสียงเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ทำให้เราไม่สามารถได้ยินเสียงทั่วไปในสภาวะระดับปกติ หรือที่เรียกกันว่า ‘หูตึง’ นั่นเอง

อีกทั้งถ้าเรายังคงฝืนตัวเองอยู่ในที่ที่มีมลพิษทางเสียง หรือในที่ทำงานเสียงดังอยู่ โดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง ก็จะทำให้เกิดปัญหา หูหนวกตามมาได้เลย ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่มาก จะทำให้เราไม่สามารถได้ยินและติดต่อพูดคุยกับคนอื่นๆ ได้ตามปกติ ทำให้ดำรงชีวิตได้อย่างยากลำบากมากขึ้น กลายเป็นคนพิการที่ไม่มีทางรักษาให้หายได้…

  

มลพิษทางเสียง หรือการอยู่ในที่เสียงดัง ส่งผลร้ายต่อร่างกายในส่วนอื่นๆ

นอกจากมลพิษทางเสียงจะทำให้การใช้ชีวิตของเราผิดแปลกไป ทำให้เรากลายเป็นคนพิการ และใช้ชีวิตอย่างไม่มีประสิทธิภาพแล้ว มันยังทำให้ระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกายของเราผิดแปลกไปอีกด้วย เช่น เกิดแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากเสียงดังจะเข้าไปทำให้กระเพาะหลั่งน้ำย่อยมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาความดันโลหิตสูง ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ไม่มีสมาธิในการทำงาน ซึ่งอาจนำไปสู่สาเหตุของการเกิดปัญหาความเครียด และกลายเป็นโรคจิต โรคประสาทได้ในที่สุด

 

ต้องเสียงดังแค่ไหน ถึงจะกลายเป็นมลพิษทางเสียง และทำให้เกิดอันตรายได้?

สำหรับใครที่สงสัยว่าต้องเสียงดังแค่ไหนถึงจะกลายเป็นมลพิษทางเสียงอยู่ละก็ ตอนนี้โลกเราได้มีการกำหนดมาตรฐานสากลขึ้นแล้ว โดยกำหนดให้ความดังของเสียงนั้นต้องไม่เกิน 85 เดซิเบล สำหรับคนที่ทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือ 90 เดซิเบล ถ้าหากทำงาน 4 ชั่วโมงต่อวัน

โดยประเทศไทยเราเองก็มีกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานกับสภาพแวดล้อม กำหนดให้ระดับความดังของเสียงที่พนักงานควรได้รับติดต่อกัน ต้องไม่เกิน 90 เดซิเบล สำหรับคนทำงานไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง และสำหรับคนทำงานวันละ 8 ชั่วโมงขึ้นไป ต้องไม่เกิน 80 เดซิเบล ซึ่งคนที่ทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นมลพิษทางเสียงแบบนี้ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินสูง ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงเอาไว้ตลอดเวลา

 

ความดังของเสียงระดับไหน ที่เริ่มเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายและมลพิษทางเสียง?

การคาดคะเนความดังในระดับเกณฑ์ที่เป็นอันตรายนั้น สามารถทำได้โดยการสังเกตและเปรียบเทียบกับเสียงต่างๆ เหล่านี้

เสียงกระซิบ         30         เดซิเบล

เสียงพิมพ์ดีด        50         เดซิเบล

เสียงคุยทั่วไป        60         เดซิเบล

เสียงรถวิ่ง            80         เดซิเบล

เสียงขุดเจาะถนน   100       เดซิเบล

เสียงค้อนทุบ        120       เดซิเบล

เสียงเครื่องบินขึ้น   140       เดซิเบล

 

 

ป้องกันอันตรายจากมลพิษทางเสียงได้ด้วยวิธีไหนบ้าง?

อันตรายจากมลพิษทางเสียงนั้นมีอยู่มากมายอย่างที่เราได้บอกไป ดังนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องใส่ใจและไม่มองข้ามอันตรายจากมลพิษทางเสียง โดยการป้องกันอันตรายจากมลพิษทางเสียงนั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธีเช่นกัน เริ่มต้นจากการขอความร่วมมือของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สร้างโครงสร้างที่ป้องกันเสียงและใช้วัสดุที่สามารถลดเสียงได้ อีกทั้งการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้เกิดเสียงน้อยที่สุดก็เป็นอีกวิธีที่จะทำให้ลดความเสี่ยงในเรื่องของระดับเสียงไปได้

แต่สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์กรและสำหรับพนักงานทุกคนก็คือ การจัดหาและดูแลให้พนักงานได้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงที่ดีและมีศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นที่อุดหู หรือที่ครอบหูต่างๆ และบังคับสวมใส่อย่างเข้มงวด ให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของมลพิษทางเสียง เพื่อปลูกจิตสำนึกให้รู้จักรักและระมัดระวังตัวเอง
 

ควรที่จะมีการตรวจสอบสมรรถภาพการได้ยินของพนักงานเป็นประจำทุกปี อีกทั้งยังตรวจสอบระดับความดังของสภาพแวดล้อมในที่ทำงานเป็นประจำ เพื่อที่จะได้ทราบถึงความอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับประสาทการรับเสียง และหาทางแก้ไขพร้อมทั้งป้องกันได้อย่างทันท่วงที ซึ่งแน่นอนว่าอุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยลดการเกิดเสียงนั้นเป็นทางออกที่ง่ายที่สุด และได้ประสิทธิภาพมากที่สุด
 

นอกจากนี้การใช้หูฟังแบบครอบหูแทนหูฟังแบบเสียบในหูก็ถือเป็นการรักษาสุขภาพหูของเราได้อย่างดีเช่นกัน ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราไม่สามารถพูดคุยด้วยระดับเสียงปกติได้ในระยะห่างเพียง 1 ช่วงแขน แสดงว่าระดับเสียงในจุดๆ นั้นดังมากเกินไปนั่นเอง



ศูนย์การแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แผนกตา หู คอ จมูก

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ผู้หญิงควรระวัง

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นความเสี่ยงจากการทำกิจกรรมทางเพศ ผู้หญิงหลายคนที่ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจไม่มีอาการแสดงให้เห็น

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ผู้หญิงควรระวัง

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นความเสี่ยงจากการทำกิจกรรมทางเพศ ผู้หญิงหลายคนที่ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจไม่มีอาการแสดงให้เห็น

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
“โลก 2 ใบ” ที่ผู้ป่วยเบาหวานเลือกได้

เพราะการรักษาโรคเบาหวานนั้น แพทย์เป็นเพียงผู้แนะนำ ส่วนผู้ป่วยจะต้องเลือกเองว่าจะ “ใช้ชีวิตอยู่กับโรค/โลกของเบาหวานจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต” หรือว่าจะเริ่ม “พิชิตโรคเบาหวาน” ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง “โรคเบาหวานควบคุมได้และอาจหายได้ด้วยความตั้งใจและความมีวินัยของตัวท่านเอง” ภายใต้คำแนะนำที่ปฏิบัติได้ด้วยตัวท่านเอง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
“โลก 2 ใบ” ที่ผู้ป่วยเบาหวานเลือกได้

เพราะการรักษาโรคเบาหวานนั้น แพทย์เป็นเพียงผู้แนะนำ ส่วนผู้ป่วยจะต้องเลือกเองว่าจะ “ใช้ชีวิตอยู่กับโรค/โลกของเบาหวานจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต” หรือว่าจะเริ่ม “พิชิตโรคเบาหวาน” ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง “โรคเบาหวานควบคุมได้และอาจหายได้ด้วยความตั้งใจและความมีวินัยของตัวท่านเอง” ภายใต้คำแนะนำที่ปฏิบัติได้ด้วยตัวท่านเอง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม