Header

คำเตือน ! อย่า ผ่าต้อกระจก ถ้าไม่รู้สิ่งนี้

พญ.พรรักษ์ ศรีพล พญ.พรรักษ์ ศรีพล

ต้อกระจก คือ ภาวะเลนส์ตาขุ่น ไม่ใช่กระจกตา โดยภาวะนี้จะทำให้มีอาการหลักคือ มองเห็นภาพไม่ชัด ซึ่งลักษณะการมองเห็นภาพไม่ชัดนั้นมีหลายแบบ แต่ส่วนมากแล้วอาการจะค่อยเป็นค่อยไป หลักเดือนหรือหลักปี

สาเหตุของต้อกระจก

  • จากอายุที่มากขึ้น ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี มีโอกาสที่จะเป็นต้อกระจกได้
  • ยาสเตียรอยด์ ( steroid ) ซึ่งผู้ที่มีโอกาสจะได้รับยานี้ได้แก่ โรคภูมิแพ้, โรค SLE หรือคนที่กินยาต้ม ยาหม้อ ยาสมุนไพร อาจจะมีส่วนประกอบของสาร สเตียรอยด์ ( steroid ) ได้
  • อุบัติเหตุทางตา
  • แสงยูวี

ผลแทรกซ้อน

จริง ๆ แล้วโรคต้อกระจกเป็นโรคที่ค่อยเป็นค่อยไป น้อยครั้งที่จะมีผลแทรกซ้อนอะไร แต่มีภาวะหนึ่งที่อันตรายมากคือภาวะต้อหิน ที่เกิดจากเลนส์ตาสุกเต็มที่แล้วมันบวม จนปิดทางระบายน้ำในลูกตาทำให้น้ำในลูกตาระบายไม่ได้เกิดอาการปวดตา ขึ้นเฉียบพลันได้ ซึ่งจะพบในผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกมานานจนสุกแล้ว ดังภาพข้างล่าง

โรคนี้เรียกว่า Phacomorphic Glaucoma หรือ ต้อหินจากต้อกระจกที่บวมเปล่ง จะเห็นว่าคนไข้จะมีอาการปวดตา ตาแดงเฉียบพลัน และส่องไฟจะเห็นเลยว่า ตาดำและขาวผิดปกติ เวลาปวดในกรณีนี้ยาอะไรก็เอาไม่อยู่
 

การรักษาต้อกระจก

ต้อกระจกมีวิธีการรักษาเดียวคือ การผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตา ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการรักษามาตรฐานในปัจจุบันทั่วโลก และวิธีที่นิยมมากที่สุดคือ การทำ Phacoemulcification หรือ เฟโกอีมัลซิฟิเคชั่น คือการใช้เครื่องเสียงความถี่สูงเข้าไปสลายเลนส์ตาเก่าให้มีขนาดเล็กแล้วใส่เลนส์ตา ใหม่เข้าไป

การผ่าตัดสลายต้อกระจก เป็นการผ่าตัดแผลเล็กมากขนาด 3 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่จึงไม่ต้องมีการเย็บปิดแผล ซึ่งการผ่าตัดเป็นวิธีที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย โดยใช้เวลาเฉลียประมาณ 10 – 30 นาที แล้วแต่ประสบการณ์ของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด และความยากของเคส นอกจากนี้การใส่เลนส์ตาเทียม ใหม่จะสามารถแก้ไขสายตาสั้น ยาว เอียง หรือสายตามองใกล้ผิดปกติได้ด้วย

 

ชนิดของเลนส์ตาเทียม

  • Monofocal IOL เป็นเลนส์ตาเทียม ชนิดมองไกลได้ระยะเดียว สามารถแก้ไข สายตาสั้น ยาว ที่มีอยู่เดิมก่อนผ่าตัดได้ ซึ่งเป็นเลนส์ตาเทียมที่นิยมใช้มากใน รพ.ทั่วไปในประเทศไทย
  • Toric IOL เป็นเลนส์ตาเทียมที่แก้ไขสายตาเอียง
  • Multifocal IOL เป็นเลนส์ตาเทียมที่มองได้หลายระยะ นิยมใช้ในต่างประเทศและโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย

ทั้งนี้การจะเลือกใช้เลนส์ตาเทียมแบบไหนนั้นต้องอาศัยการปรึกษากับคุณหมอที่ จะผ่าตัด เพราะสิ่งที่ต้องคำนึงได้แก่ สภาพตา อาชีพ ชีวิตประจำวัน เพราะเลนส์ที่ใส่เข้าไปนั้นมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน

 

ผลแทรกซ้อนของการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาเทียม

  • การผ่าต้อกระจก เป็นการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยสูง และมีผลข้างเคียงน้อย โดยผลแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้แก่ การมีเลือดออกในลูกตา และหรือเบ้าตาจากการฉีดยาชา กระจกตาขุ่นมัวจากเซลล์ตาไม่แข็งแรง การติดเชื้อ จอประสาทตาหลุดลอก ปวดตา แสงจ้า การเลื่อนหลุดของเลนส์แก้วตาเทียม ในกรณีที่พบความรุนแรงยิ่งขึ้น คือ มีการสูญเสียดวงตาและการมองเห็นซึ่งภาวะที่กล่าวมาพบได้น้อยมาก และอาจเกิดในระยะเป็น วัน สัปดาห์ เดือน หรือหลายปี หลังการผ่าตัด และขึ้นอยู่กับความร่วมมือของผู้ป่วย
  • การมองเห็นหลังผ่าตัดยังขึ้นอยู่กับภาวะของจอประสาทของผู้ป่วยอีกในบางรายอาจ ได้รับการรักษาหรือผ่าตัดเพิ่มเติม รวมถึงการยิงเลเซอร์เพื่อช่วยในการมองเห็น

 

ขั้นตอนในการผ่าต้อกระจก

ก่อนผ่าตัด

การเตรียมตัวก่อนการผ่าต้อกระจก หลังจากที่ตกลงและกำหนดวันผ่าตัดได้แล้ว สิ่งที่ผู้ป่วยต้องทำก่อนผ่าตัด 1 สัปดาห์คือ

  1. เจาะเลือด CBC เพื่อดูความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด และเม็ดเลือดขาว
  2. วัดเลนส์ตา เพื่อจะได้เตรียมเลนส์ตาเทียม เบอร์ที่เหมาะสมใส่เข้าไป ทดแทนตอนผ่าตัด
  3. หยุดยาบางชนิดก่อนผ่าตัด เช่น ยาละลายลิ่มเลือด
  4. ฝึกนอนให้ผ้าคลุมหน้า ประมาณ 30 นาที
  5. ใช้น้ำยาทำความสะอาดเปลือกตาฟอกบริเวณโคนขนตา ทุกวันก่อนผ่า 7 วัน เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ
  6. หยอดยาฆ่าเชื้อก่อนผ่าตัด เพื่อลดโอกาสเกิดการติดเชื้อ
  7. ทำใจให้สบาย สงบ ลดความวิตกกังวล

 

ขั้นตอนการผ่าตัด

ยาชา หรือยาสลบ ส่วนใหญ่แล้วการผ่าตัดต้อกระจกไม่ต้องดมยาสลบ นี่คือข้อดี ดังนั้นคนไข้จำนวนมากที่สูงอายุแล้วมีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการดมยาก็ สามารถผ่าตัดได้ ส่วนยาชา มีทั้งแบบหยอด และฉีดรอบดวงตา เพื่อไม่ให้เจ็บเวลาผ่าตัด และป้องกันการกรอกตาระหว่างผ่าตัด

จากนั้นแพทย์จะมีการกรีดกระจกตาให้เกิดช่องขนาดเล็กมากสำหรับสอดเครื่องมือทางการแพทย์ ก่อนจะปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูงในการสลายต้อกระจกแล้วดูดออก ก่อนใส่เลนส์ตาเทียม (แก้วตาเทียม) เข้าไปแทนที่เลนส์ตาเดิมที่เกิดภาวะขุ่นมัว

หลังการผ่าตัดเสร็จสิ้นลง แพทย์จะให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดใส่ที่ครอบตาป้องกันดวงตา และอยู่พักฟื้นในห้องประมาณ 15 – 30 นาที จึงสามารถกลับบ้านได้ตามปกติ หากผู้เข้ารับการผ่าตัดเป็นโรคต้อกระจกทั้ง 2 ข้าง การผ่าตัดจะทำทีละข้าง โดยอาจทิ้งระยะเวลาในการผ่าตัดแต่ละครั้งห่างกันประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ เพื่อรอให้ดวงตาข้างที่ผ่าตัดมีอาการดีขึ้นก่อน
 


 

ข้อปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดใส่เลนส์ตาเทียม

  1. วันแรกหลังผ่าตัด ควรนอนพักให้มากที่สุด นอนหัวสูง 45 องศา และ ห้ามนอนตะแคงด้านที่ผ่าตัด
  2. หลังผ่าตัด 1 วัน แพทย์จะนัดเปิดตาและทำความสะอาดตา โดยใช้สำลีชุบน้ำเกลือ เช็ดจากหัวตาไปหางตาจนสะอาด
  3. ควรสวมแว่นกันแดดในช่วงเวลากลางวัน และใช้ที่ครอบตาเฉพาะเวลานอนเท่านั้น เป็นเวลา 1 เดือน
  4. ห้ามน้ำเข้าตาเป็นเวลา 1 เดือน ให้ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดทำความสะอาดแทนการล้างหน้าแบบปกติ ระวังน้ำเข้าตาระหว่างอาบน้ำถ้าสระผมควรไปสระที่ร้าน หรือให้ญาติสระให้
  5. งดออกกำลังกายหนักๆหรือยกของหนักเป็นเวลา 1 เดือน และอย่าก้มลงเก็บของต่ำกว่าระดับเอว
  6. ใช้ยาตามแพทย์สั่ง และปฏิบัติตัวตามที่แนะนำอย่างเคร่งคัด
  7. มาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ตามัว ปวดตามาก มีขี้ตา ตาแดง ให้รีบมาพบแพทย์ก่อนวันนัด

 

ภาวะตามัวหลังผ่าตัดต้อกระจก

PCO – posterior capsular opacity ภาวะนี้เป็นภาวะที่พบบ่อยหลังการผ่าตัดต้อกระจกในต่างประเทศ มีคำศัพท์ที่เรียกว่า secondary cataract คือภาวะที่เกิดจาก เซลล์ใน ถุงหุ้มเลนส์ form ตัวหนา และขุ่นขึ้น หลังเลนส์ตาเทียม หลังการผ่าตัดต้อกระจก ทำให้มีอาการตาพร่ามัว โดยภาวะนี้จะเกิดขึ้นได้ 20% ของคนไข้ที่ผ่าตัดต้อกระจก

สาเหตุ

โดยปกติแล้วเวลาที่ผ่าตัดต้อกระจก จักษุแพทย์จะทำการเอาเลนส์ตาเดิมที่ขุ่นออก แล้วแทนที่ด้วยเลนส์ตาเทียมเข้าไปทำให้การมองเห็นดีขึ้น แต่ถุงหุ้มเลนส์ยังคงจะต้องเหลือไว้เช่นเดิมเมื่อเวลาผ่านไปถุงหุ้มเลนส์จะขุ่นขึ้นตามการเวลา เรียกภาวะนี้ว่า PCO



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกจักษุ

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -17.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกตา หู คอ จมูก

นพ.ภูรินท์ สุจิระกุล

โสต ศอ นาสิกวิทยาการนอนหลับ

แผนกตา หู คอ จมูก

พญ.ชลิสรา สุบงกฎ

นาสิกวิทยาและโรคภูมิแพ้

แผนกตา หู คอ จมูก

พญ.อรณิชา ศรีวนิชย์

จักษุวิทยากระจกตาและการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกพัฒนาการช้ารู้ได้อย่างไร

คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกว่าลูกซนมาก สงสัยว่าลูกจะเป็นเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ แล้วเด็กสมาธิสั้นเป็นอย่างไร

พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ลูกพัฒนาการช้ารู้ได้อย่างไร

คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกว่าลูกซนมาก สงสัยว่าลูกจะเป็นเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ แล้วเด็กสมาธิสั้นเป็นอย่างไร

พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตาบอดสี

“ตา” เป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก ภาวะ “ตาบอดสี” จึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เพราะทำให้มองเห็นสีแตกต่างจากผู้อื่น

blank บทความโดย : คลินิกจักษุ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตาบอดสี

“ตา” เป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก ภาวะ “ตาบอดสี” จึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เพราะทำให้มองเห็นสีแตกต่างจากผู้อื่น

blank บทความโดย : คลินิกจักษุ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
รู้จักอาการป่วย “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” จากกรณีตูน บอดี้สแลม แพทย์ชี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน

โรคหมอนกระดูกทับเส้นประสาทนี้เป็นภาวะความเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน เนื่องจากการทำพฤติกรรมผิด ๆ บางอย่างเป็นประจำ เช่น การก้มคอเล่นมือถือ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
รู้จักอาการป่วย “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” จากกรณีตูน บอดี้สแลม แพทย์ชี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน

โรคหมอนกระดูกทับเส้นประสาทนี้เป็นภาวะความเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน เนื่องจากการทำพฤติกรรมผิด ๆ บางอย่างเป็นประจำ เช่น การก้มคอเล่นมือถือ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม