คลินิกกายภาพบำบัด
บางครั้งอาการป่วยจากโรคบางโรคส่งผลให้การใช้ชีวิตประจำวันลำบากมากขึ้น หรือบางรายอาการรุนแรงถึงขั้นไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ไม่ว่าจะด้วยอาการปวดที่รบกวนการเคลื่อนไหว กำลังกล้ามเนื้อหรือความทนทานที่ลดลง หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ ที่เกิดจากความบาดเจ็บหรือสภาวะของโรคที่เกิดขึ้น แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ เราให้บริการในการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบกล้ามเนื้อ ระบบหัวใจและปอด และระบบประสาท ดังนี้
บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด

- ผู้ที่มีอาการปวดบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งอาการปวดแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง เช่น ออฟฟิศซินโดรม ปวดหลังส่วนล่าง ข้อเท้าพลิก ข้อไหล่ยึดติด ข้อเข่าเสื่อม รองช้ำ บาดเจ็บจากการหกล้มหรือจากการเล่นกีฬา เป็นต้น
- ผู้ที่มีปัญหาองศาการเคลื่อนไหวที่ลดลง เช่น ข้อไหล่ยึดติด ข้อเข่ายึดติด ข้อต่อยึดติดหลังภาวะกระดูกหัก เป็นต้น
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเดิน และการเคลื่อนย้ายตนเอง เช่น กระดูกขาหัก หรือผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า หรือข้อสะโพก
- ผู้ที่มีสรีระร่างกายที่ผิดปกติ เช่น กระดูกสันหลังคด ระดับไหล่สองข้างสูงไม่เท่ากัน
- ผู้ป่วยทางโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ปัญหาเสมหะคั่งค้างขับออกเองได้ลำบาก ภาวะหลังโรคโควิด (Post Covid / Long Covid)
- มารดาที่ตั้งครรภ์ สามารถเข้ารับคำแนะนำในการออกกำลังกาย เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย เช่น การออกกำลังกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และกล้ามเนื้อขา การนวดคลายบริเวณหลังส่วนล่าง
- มารดาหลังคลอดบุตร ที่มีปัญหาในการให้นมบุตร เช่น ภาวะท่อน้ำนมอุดตัน
- ผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมอง บาดเจ็บไขสันหลัง โรคทางระบบประสาทส่วนปลาย
การบริการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
การลดปวด
- การลดปวดโดยการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด ได้แก่ เครื่องอัลตร้าซาวด์, เครื่องเลเซอร์, กระตุ้นไฟฟ้าเพื่อลดปวด, ดึงหลัง, วางประคบร้อน/เย็น
- การลดปวดด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด เช่น การออกกำลังกาย เพื่อลดอาการปวด ยืดกล้ามเนื้อ นวด ดัดดึงข้อต่อ
การเพิ่มองศาการเคลื่อนไหว
- การดัดดึงข้อต่อ เพื่อเพิ่มองศาการเคลื่อนไหว
- การออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

การฟื้นฟูผู้ป่วยหลังผ่าตัด
- การสอนการออกกำลังกายตั้งแต่ก่อนผ่าตัด การฝึกหายใจ รวมถึงแจ้งข้อห้าม ข้อควรระวังหลังการผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
- การออกกำลังกาย และฝึกการเคลื่อนย้ายตนเองอย่างถูกวิธี เช่น การพานั่ง พายืน และพาเดิน
การฝึกเดิน เคลื่อนย้ายตนเอง และสอนใช้กายอุปกรณ์
- การฝึกเดิน และเคลื่อนย้ายตนเองในผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกหัก หรือผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรง เช่น คอกช่วยเดิน (Walker), ไม้เท้า (Cane), ไม้คำยัน (Crutches)
- การสอนใช้กายอุปกรณ์ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดมากขึ้น เช่น สอนใช้เฝือกพยุงลำตัว สอนใส่ที่พยุงเอว รวมถึงให้คำแนะนำในการดูแลรักษากายอุปกรณ์อย่างถูกวิธี
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่นอนติดเตียง
- การกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ
- การขยับข้อต่อ เพื่อคงองศาการเคลื่อนไหวของร่างกาย
การให้บริการทางระบบหัวใจและปอด

การฟื้นฟูในผู้ป่วยที่มีภาวะเสมหะคั่งค้าง
- การจัดท่าระบายเสมหะ
- การเคาะปอด สั่นปอด
- การดูดเสมหะ
- การสอนการไอ และสอนการหายใจ เพื่อระบายเสมหะด้วยตนเอง
การฟื้นฟูสมรรถภาพของระบบหัวใจและปอด
- การฝึกหายใจ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ
- การออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความทนทานของร่างกาย
การให้บริการทางระบบประสาท
- การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
- การฟื้นฟูผู้ป่วยไขสันหลังบาดเจ็บ
- การฟื้นฟูผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บเส้นประสาทส่วนปลาย

การให้บริการอื่นๆ

มารดาที่มีปัญหาการให้นมบุตร (เต้านมคัด)
- การนวดกระตุ้นต่อมน้ำนม การทำอัลตร้าซาวด์บริเวณเต้านม และวางผ้าร้อน เพื่อระบายน้ำนมที่คั่งค้าง และทำให้น้ำนมสามารถระบายออกได้มากขึ้น
- สอนท่านวดกระตุ้นน้ำนมให้มารดาไว้ปฏิบัติเองเมื่อมีอาการ
- การให้คำแนะนำในการดูแลตนเองเมื่อให้นมบุตร
การออกกำลังกายมารดาขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม หรือต้องการติดต่อแผนกกายภาพบำบัด สามารถติดต่อโดยตรงได้ที่ id line: psuv_pt