
ข้อควรปฏิบัติตัวของผู้ป่วยฝังเข็ม
- ควรแจ้งโรคประจำตัว หากมีเครื่องกระต้นหัวใจ โรคลมชัก ตั้งครรภ์ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนลงมือรักษา
- ผู้ป่วยไม่ควรกังวลหรือกลัวมากเกินไป เพราะทำให้กล้ามเนื้อเกร็ง และรู้สึกปวดมากขึ้น เวลาเข็มปักลงไป
- ระหว่างฝังเข็ม อาจเกิดความรู้สึกหนักๆ หน่วงๆ ตื้อๆ ในจุดฝังเข็ม หรือมีความรู้สึกแล่นแปล๊บๆไปตามเส้น หากรู้สึกเจ็บมากเกินไป ให้แจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทราบ การถอนเข็มออกเล็กน้อย หรือลดการกระตุ้นให้เบาลงจะหายเจ็บ
- ในระหว่างคาเข็ม พยายามอย่าขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ฝังเข็มมากเกินไป เพราะทำให้เจ็บมากขึ้น และมีเลือดออก
- ตอนถอนเข็ม พยายามผ่อนคลายกล้ามเนื้อจะสบายที่สุด แต่ถ้าหากมีอาการผิดปกติใดๆเช่น รู้สึกหวิวๆหน้ามืดจะเป็นลม แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ให้แจ้งแพทย์หรือผู้ช่วยแพทย์ทราบทันที
- หากยังคงมีอาการปวดระบมหลังการฝังเข็ม กรุณาแจ้งแพทย์ หรือผู้ช่วยแพทย์ เพื่อจะได้มีการวางแผ่นร้อนประคบบริเวณที่ฝังเข็ม ช่วยลดบรรเทาอาการปวด
ระยะเวลาที่ใช้สำหรับการฝังเข็มนานเท่าไร
การฝังเข็มแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 30 นาที ควรมาฝังเข็มต่อเนื่องสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง ซึ่งอาการต่างๆมักจะดีขึ้นหลังจากได้รับการฝังเข็ม 2-3 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาในการรักษาโรคต่างๆ อาจแตกต่างกัน ตามดุลยพินิจของแพทย์


สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาได้ที่ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv